Clicky

Plasma Cortisol

คอร์ติซอล (Cortisol) ฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมหมวกไตชั้นนอก (Adrenal cortex) มีหน้าที่เผาพลาญสารอาหาร ฮอร์โมนนี้จะหลั่งออกมาเมื่อมีความเครียดทางกายภาพ (Physiologic stress) และทำหน้าที่เป็นระบบภูมิคุ้มกัน (Immune system) ฮอร์โมนคอร์ติซอลจะหลั่งออกมาทั้งตอนกลางวัน – กลางคืน ( Diurnal pattern) ค่าคอร์ติซอลจะสูงขึ้นในช่วงเช้าโดยขึ้นสูงสุดเวลาประมาณ 8.00 น. และมีค่าต่ำลงในช่วงเย็นและก่อนนอน คอร์ติซอลจะหลั่งออกมาเมื่อร้อนหรือเย็นเกินไป เมื่อมีการติดเชื้อ มีการบาดเจ็บที่รุนแรง เมื่อออกำลังกาย คนที่เป็นโรคอ้วน และเป็นโรคเบาหวาน

วัตถุประสงค์

ช่วยวินิจฉัยโรคคุชชิ่ง (Cushing’s disease) กลุ่มอาการคุชชิ่ง (Cushing’s syndrome) โรคแอดดิสัน (Addison’s disease) และ Secondary adrenal insufficiency

ผลการตรวจที่เป็นปกติ

ระดับปกติ คอร์ติซอลในพลาสม่า (Plasma cortisol)
= 9-35 µg / dl ในตอนเช้า
= 3-12 µg / dl ในตอนบ่าย
ซึ่งในตอนบ่ายมีค่าคอร์ติซอลในพลาสม่าประมาณครึ่งหนึ่งของตอนเช้า

ผลการตรวจที่ผิดปกติ

ระดับคอร์ติชอลที่สูงขึ้น อาจบ่งชี้ถึงต่อมหมวกไตทำงานมาก (Adrenocortical hyperfunction) ในโรคคุชชิ่ง (Cushing’s disease) หรือกลุ่มอาการคุชชิ่ง (Cushing’s syndrome) ส่วนใหญ่ในผู้ป่วยกลุ่มอาการคุชชิ่ง ต่อมหมวก ไตชั้นนอกจะหลั่งคอร์ซิชอลเป็นอิสระตามธรรมชาติ ดังนั้นจึงไม่มีความแตกต่างของการหลั่งคอร์ติชอลในช่วงกลางวัน – กลางคืน ในผู้ป่วยกลุ่มอาการคุชชิ่งเกือบทั้งหมด ในผู้ป่วยเหล่านี้มีค่าแตกต่างเล็กน้อยที่พบในระหว่างช่วงเช้ากับช่วงบ่าย ความแตกต่างในช่วงกลางวัน – กลางคืน อาจจะไม่มีในคนที่มีสุขภาพดีที่มีภาวะเครียดทางด้านร่างกายและจิตใจ

ระดับคอร์ติชอลที่ต่ำลง

อาจจะบ่งชี้ถึงภาวะต่อมหมวกไตบกพร่องชนิดปฐมภูมิ (Primary adrenal hypofunction) หรือโรคแอดดิสัน (Addison’s disease) บ่อยมากที่สุดเนื่องจากต่อมหมวกไตเล็กลงโดยไม่ทราบสาเหตุนอกจากนี้ผู้ป่วยที่เป็นวัณโรค ผู้ที่ได้รับเชื้อรา และมีเลือดออกเป็นสาเหตุของการทำลายต่อมที่สร้างคอร์ติชอล

ระดับคอร์ติซอลต่ำ

เป็นผลมาจากภาวะต่อมหมวกไตบกพร่องชนิดทุติยภูมิ (Scondary adrenal insufficiency) อาจจะเกิดขึ้นในภาวะมีการหลั่งคอร์ติโคโทรปิน บกพร่อง เช่น การผ่าตัดต่อมหมวกไต Postpartum pituitary necrosis (Sheehan’s syndrome) เนื้องอกต่อมใต้สมอง และเนื้องอกจากต่อมหรือส่วนที่คล้ายต่อม (Chromophobe adenoma)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *