จุดภาพชัดเสื่อมตามวัย( Age – related macular degeneration)
จุดภาพชัด (macula) เป็นจุดที่อยู่ตรงกลางของ จอตา มีเซลล์ประสาทรับรู้แสงและสี (cones) จำนวนมากทำให้เห็นภาพได้คมชัด ผู้สูงอายุบางคนอาจเกิดภาวะเสื่อมของจุดภาพชัด ทำให้สายตาพิการอย่างถาวรเริ่มพบในคนอายุมากกว่า 40 ปี และพบบ่อยในคนอายุมากกว่า
65 ปี
โรคนี้แบ่งเป็น 2 ชนิดได้แก่ ชนิดแห้ง (dry) และชนิดเปียก (wet)
สาเหตุ
ยังไม่ทราบแน่ชัด พบว่าอาจมีประวัติมีคนในครอบครัวเป็นด้วย ผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบโรคหลอดเลือดหัวใจ และผู้ที่สูบบุหรี่โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากขึ้น
โรคนี้แบ่งออกเป็น 2 ชนิดได้แก่
- จุดภาพชัดเสื่อมชนิดแห้ง (dry/atrophic macular degeneration) ซึ่งเป็นชนิดที่พบได้เป็นส่วนใหญ่ มักเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป พบว่าเซลล์ประสารทมีการฝ่อตัวหายไปโดยไม่มีรอยแผลเป็นหรือเลือดออก
- จุดภาพชัดเสื่อมชนิดเปียก (wet/neovascular/ exudative meacular degeneratio) มักเกิดขึ้นฉับพลัน และรุนแรงพบ ว่ามีหลอดเลือดผิดปกติในผนังลูกตาชั้นกลาง (คอรอยด์) บริเวณใต้จุดภาพชัด ต่อมาเกิดการรั่วซึมของเลือดหรือสารน้ำออกจากหลอดเลือดเหล่านี้ ทำให้เซลล์ประสาทจอตาเสื่อม
ผู้ป่วยที่เป็นจุดภาพชัดเสื่อมชนิดเปียกส่วนใหญ่มักมีจุดภาพชัดเสื่อมชนิดแห้งนำมาก่อน
การรักษา
หากสงสัยควรปรึกษาจักษุแพทย์ ซึ่งมักจะวินิจฉัยโดยการใช้เครื่องส่องตรวจตา (ophthalmoscopy) ถ่ายภาพรังสีจอตาด้วยการฉีดสี (fluorescein angiography)
การรักษา ถ้าเป็นจุดภาพชัดเสื่อมชนิดแห้งแบบ เล็กน้อยหรือรุนแรงไม่มีการรักษาโดยจำเพาะถ้าเป็นแบบปานกลาง แพทย์อาจพิจารณาให้สารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินซี วิตามินอี บีตาแคโรทีน สังกะสี ทองแดง เพื่อชะลออาการ
ถ้าเป็นจุดภาพชัดเสื่อมชนิดเปียก อาจให้การรักษาด้วยแสงเลเซอร์ ซึ่งมีอยู่หลายวิธี (เช่น thermal laser‚ photodynamic herapy‚ transpupillary thermotherapy) เพื่อทำลายหลอดเลือดที่ผิดปกติไม่ให้อาการลุกลามมากขึ้น
ผลการรักษาขึ้นกับชนิด ตำแน่ง และความรุนแรงของโรค ถ้าเป็นชนิดเปียกที่เริ่มเป็นระยะแรก (พบว่าเริ่มมีหลอดเลือดผิดปกติในผนังลูกตาชั้นกลาง) ก็มักจะได้ผลดี แต่ถ้าเซลล์ประสาทบริเวณจุดภาพชัดเสื่อม ทั้งหมดแล้ว ก็ยากที่จะแก้ไขให้ดีขึ้นได้
ในรายที่สายตาพิการมาก อาจต้องใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น แว่นขยาย แว่นตาอ่านหนังสือ กล้องส่องทางไกล เป็นต้น
การป้องกัน
ถึงแม้สาเหตุของโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด และอาจ สัมพันธ์กับปัจจัยหลายอย่าง (เช่น อายุมาก กรรมพันธุ์) ที่แก้ไชไม่ได้ แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงบางอย่างที่สามารถหลีกเลี่ยงหรือป้องกันได้ การปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้ อาจช่วยลดความเสี่ยงหรือชะลอความรุนแรงของโรค
- กินอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระได้แก่ ผักและผลไม้เมล็ดธัญพืชให้มากๆ และกินปลาเป็นประจำ
- ไม่สูบบุหรี่
- ถ้าเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ควรรักษาอย่างจิงจังจนสามารถควบคุมโรคเหล่านี้ได้ดี
- ถ้าน้ำหนักเกินหรืออ้วน ควรลดน้ำหนักด้วยการออกกำลังกายและควบคุมอาหาร
Ambulance call
1669
Available 24 Hours
Are you five-star healthcare provider?
list your practice
to reach million of patient