การรักษา
หากสงสัย เช่น มีอาการตาแดง มีขี้ตา ร่วมกับอาการปวดตา เคืองตารุนแรง หรือตาพร่ามัว หรือพบร่วมกับโรคเริมหรืองูสวัดที่บริเวณรอบตา หรือมีประวัติ ได้รับบาดเจ็บที่ตาใช้ยาหยอดตาสตีรอยด์เป็นประจำ หรือใช้เลนส์สัมผัสควรส่งโรงพยาบาลด่วน ก่อนส่งควรใช้ยาป้ายตา
ปฏีชีวนะ เช่น โทบราไมซิน แล้วปิดตาด้วยผ้าก๊อซ
แพทย์จะตรวจหาสาเหตุโดยใช้เครื่องมือส่องตรวจตา ทำการย้อมสีด้วยวิธี fluorescein staining และทำการตรวจหาเชื้อด้วยการย้อมเชื้อหรือเพาะเชื้อ และให้การรักษาตามสาเหตุ เช่นให้ยาปฏิชีวนะในรายที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียให้ยาต้านไวรัสในรายที่เกิดจากเชื้อไวรัส หรือให้ยาฆ่าเชื้อราในรายที่เกิดจากเชื้อรา
นอกจากนี้อาจต้องให้ยาหยอดตาอะโทรพีน ชนิด 1% เช่นเดียวกับการรักษาโรคม่านตาอักเสบ
ถ้ามีภาวะแทรกซ้อนก็ให้การแก้ไข
ส่วนในรายที่การอักเสบทุเลาลงแล้ว แต่กลายเป็นแผลเป็น (ต้อลำไย) ทำให้สายตาพิการ แต่พบว่าประสาทตายังเป็นปกติดี อาจต้องทำการผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา (corneal transplantation) โดยตัดเอาส่วนที่เป็น แผลเป็นออกไปแล้วเอากระจกตาที่ปกติของผู้บริจาค มาใส่แทน จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับเห็นเหมือนปกติได้ (การผ่าตัดเปลี่ยนตา ก็หมายถึงการผ่าตัดชนิดนี้ ไม่ใช่หมาย ถึงเปลี่ยนลูกตาทั้งลูก ซึ่งยังเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้)
การป้องกัน
ควรหาทางป้องกันแผลกระจกตา ดังนี้
- เมื่อพบว่าเป็นโรคเริมหรืองูสวัดที่บริเวณตาให้รีบส่งไปโรงพยาบาลเพื่อให้ยาต้านไวรัสรักษาโดยเร็ว
- ระวังอย่าให้ถูกใบหญ้าหรือพืชผักบาดตา หรือสิ่งแปลกปลอมเข้าตา ถ้าทำงานที่เสี่ยงต่อปัญหานี้ ควรสวมหน้ากากหรือแว่นตาป้องกัน
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาหยอดตาสตีรอยด์โดยไม่จำเป็น
- ผู้ที่ใช้เลนส์สัมผัสควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และหลีกเลี่ยงการใส่เลนส์ สัมผัสขณะนอนหลับ
Ambulance call
1669
Available 24 Hours
Are you five-star healthcare provider?
list your practice
to reach million of patient