หัด มักพบในเด็กอายุ 2–14 ปี พบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มักไม่พบในทารกอายุต่ำกว่า 6 – 8 เดือน เนื่องจากยังมีภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากมารดาตั้งแต่อยู่ในครรภ์
โรคนี้สามารถติดต่อแพร่กระจายได้ง่าย พบได้ตลอดทั้งปี แต่มักมีอุบัติการณ์สูงในเดือนมกราคมถึงเมษายน อาจพบระบาดตามชุมชน โรงเรียน สถานรับเลี้ยงเด็ก
สาเหตุ
เกิดจาก เชื้อหัด ซึ่งเป็นไวรัส ที่ชื่อว่า ไวรัสรูบีโอลา (rubeola virus) ซึ่งมีอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ และปัสสาวะของผู้ป่วย ติดต่อโดยการหายใจสูดเอาฝอยละอองเสมหะที่ผู้ป่วยไอหรือจามรด หรือโดยการสัมผัสถูกมือ สิ่งของเครื่องใช้ หรือสิ่งแวดล้อมที่แปดเปื้อนเชื้อ นอกจากนี้ยังสามารถแพร่กระจายทางอากาศ(airborne transmission)ได้เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่ จึงเป็นโรคที่สามารถระบาดได้รวดเร็ว เมื่อเชื้อเข้าไปสัมผัสเยื่อบุของโพรงจมูก เยื่อบุทาง เดินหายใจ หรือเยื่อบุตา ก็จะเกิดการแบ่งตัวภายในเยื่อบุแล้วเข้าสู่กระแสเลือด กระจายไปตามผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจ และอวัยวะต่างๆ
ระยะฟักตัว 9-11 วัน
มีอาการตัวร้อนขึ้นทันทีทันใด ในระยะแรกมีอาการคล้ายไข้หวัด แต่ผิดกันตรงที่จะมีไข้สูงอยู่ตลอดเวลา กินยาลดไข้ก็ไม่ลด เด็กจะซึม กระสับกระส่าย ร้องงอแง เบื่ออาหาร มีน้ำมูกใส ๆ ไอแห้ง ๆ เป็นเสียงแค็ก ๆ น้ำตาไหล ตาแดง ไม่สู้แสง (จะหรี่ตาเมื่อถูกแสงสว่าง) หนังตาบวมตู่ อาจมีอาการถ่ายเหลวบ่อยครั้งเหมือนท้องเดิน ในระยะก่อนที่จะมีผื่นขึ้น หรืออาจชักจากไข้สูง
ลักษณะเฉพาะของหัด คือ มีผื่นขึ้นหลังจากมีไข้ 3-4 วัน หรือประมาณวันที่ 4 ของไข้ ลักษณะเป็นผื่นราบสีแดงขนาดเท่ากับหัวเข็มหมุด มักจะไม่คัน โดยผื่นจะเริ่มขึ้นที่ชายผม หน้าผาก หลังหู ใบหน้า และไล่ลงมาตามลำคอ หน้าอก แขน (และฝ่ามือ) ท้อง ขา (และฝ่าเท้า) ตามลำดับ จากหน้าถึงเท้าใช้เวลาทั้งสิ้น 48-72 ชั่วโมง ผื่นที่หน้าและลำคอซึ่งขึ้นในวันแรกๆ จะแผ่มารวมกันเป็นแผ่นราบๆ สีแดงขนาดใหญ่ ทำให้เห็นได้ชัดกว่าบริเวณท่อนล่างของลำตัวที่มีลักษณะเป็นผื่นแดงเล็กๆอยู่กระจายๆ หลังจากผื่นออกเต็มที่แล้วจะค่อยจางลงโดยไล่เรียงตามลำดับจากหน้าถึงเท้า ผื่นจะเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีคล้ำ หลังจากนั้นจะลอกเป็นแผ่นบาง ๆ และหายไปใน 7-10 วัน (บางรายอาจนานกว่า)
ส่วนอาการไข้จะขึ้นสูงสุดในวันที่มีผื่นขึ้น และจะมีต่อมาอีก 2-3 วันจนกระทั่งผื่นขึ้นที่เท้าไข้ก็จะลดลง และอาการอื่นๆ ก็จะทุเลาไปพร้อมกันรวมแล้วจะมีไข้อยู่นานประมาณ 1 สัปดาห์ ถ้าผื่นขึ้นถึงเท้าแล้วไข้ยังไม่ลดหรือลดแล้วกลับมากำเริบใหม่ มักบ่งบอกว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
สิ่งที่ตรวจพบ
ไข้ 38.5-40.5 องศาเซลเซียล หน้าแดง ตาแดง หน้าตาบวมตู่ เปลือกตาแดง อาจตรวจพบต่อน้ำเหลืองโตที่หลังหูหลังคอ ท้ายทอย
ระยะ 2 วันหลังมีไข้ พบจุดสีขาวๆ เหลืองๆ ขนาดเล็กคล้ายเมล็ดงาที่กระพุ้งแก้มบริเวณใกล้ฟันกรามล่าง (ถ้าเป็นมากจะพบอยู่เต็มกระพุ้งแก้ม) เรียกว่า จุดค็อปลิก (Koplik’s spot) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวของหัด
หลังไข้ขึ้น 3-4 วันจะพบผื่นขึ้นที่ชายผม หน้าผากหลังหู ใบหน้า ลำตัว แขนขา ผ่ามือ ผ่าเท้า
ปอดจะมีเสียงปกติ ยกเว้นถ้ามีโรคปอดอักเสบแทรกซ้อน เมื่อใช้เครื่องฟังตรวจปอดจะได้ยินเสียงกรอบแกรบ (crepitation)
ภาวะแทรกซ้อน
ที่พบบ่อย คือ ปอดอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญของผู้ป่วยหัด ถ้าพบตั้งแต่ก่อนมีผื่นขึ้นหรือระยะที่เริ่มมีผื่นขึ้น มักเกิดจากไวรัส
หัดเอง และหากพบในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ (เช่น เด็กขาดอาหารผู้ป่วยมะเร็งหรือเอดส์) หรือหญิงตั้งครรภ์ก็มักจะรุนแรงซึ่งอาจถึงตายได้ ถ้าพบในระยะหลัง ๆ ก็มักเกิดจากภาวะแทรกซ้อนของเชื้อแบคทีเรีย
ที่พบบ่อยแต่รุนแรงไม่มาก ได้แก่ ท้องเดินจากไวรัส หูชั้นกลางอักเสบ จากแบคทีเรียแทรกซ้อน หลอดลมอักเสบ เยื่อบุตาขาวอักเสบ
ที่รุนแรงถึงตายหรือพิการ คือ สมองอักเสบ ซึ่งพบได้ประมาณ 1 ใน1,000-2,000 มักพบหลังผื่นขึ้น 2-6 วัน (แต่บางรายก็อาจพบก่อนผื่นขึ้น) ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ซึม ไม่รู้สึกตัว หรือชัก ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีโอกาสตายประมาณร้อยละ 15 และพิการจากภาวะแทรกซ้อนทางสมองประมาณร้อยละ 25
นอกจากนี้ ยังอาจพบภาวะแทรกซ้อนดังต่อไปนี้
• หญิงตั้งครรภ์ ถ้าป่วยเป็นหัดในระยะแรกไตรมาสแรกอาจเสี่ยงต่อการแทงบุตร การตายคลอด (stillbirthหรือการคลอดทารกที่ตายในครรภ์) การคลอดก่อนกำหนด ความผิดปกติแต่กำเนินในทารก ทารกน้ำหนักน้อย
• ภูมิคุ้มกันลดลงชั่วคราว มีโอกาสติดเชื้ออื่น ๆ แทรกซ้อนได้ ที่สำคัญคือ วัณโรค อาจทำให้ผู้ที่มีเชื้อวัณโรคหลบซ่อนอยู่มีอาการกำเริบ หรือผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคอยู่ก่อน โรคก็จะรุนแรงขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้การทดสอบทุเบอร์คูลินให้ผลลบลวง (เป็นเวลานาน 2-6 สัปดาห์หลังเป็นหัด) ทำให้แปลผลได้ไม่แน่นอน
• ภาวะทุพโภชนาการจากอาการเบื่ออาหาร ท้องเดิน อาเจียนหรืองดอาหารโปรตีนที่เข้าใจว่าเป็นของแสลง
• อื่น ๆ เช่น ครู้ป หลอดลมฝอยอักเสบ ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ตับอักเสบ ไส้ติ่งอักเสบ กระจกตาอักเสบ(keratitis) ซึ่งอาจรุนแรงถึงทำให้ตาบอดได้ หูหนวก หูตึง ซึ่งอาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อนของสมองอักเสบหรือประสาทหูเสื่อมจากการติดเชื้อหัดที่แพร่กระจายไปตามกระแสเลือด เป็นต้น
Ambulance call
1669
Available 24 Hours
Are you five-star healthcare provider?
list your practice
to reach million of patient