ข้อแนะนำ
1. ควรพักแขนขาส่วนที่มีบาดแผล (เช่น อย่าเดินหรือใช้งานมาก) และยกส่วนนั้นให้สูง เช่น ถ้ามีบาดแผลที่เท้า ควรนอนพักและใช้หมอนรองเท้าสูงกว่าระดับหน้าอก ถ้ามีบาดแผลที่มือ ควรใช้ผ้าคล้องแขนกับลำคอให้บาดแผลอยู่สูงกว่าระดับหัวใจ
2.ไม่มีอาหารใด ๆ ที่แสลงต่อบาดแผลไม่ว่าจะเป็นไข่ เนื้อ ส้ม (ดังที่ชาวบ้านมักเชื่อกันอย่างผิดๆ) ตรวจกันข้ามควรบำรุงด้วยอาหารพวกโปรตีน (เช่น เนื้อ นม ไข่ ถั่วต่าง ๆ) ให้มากๆ จะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
3. ไม่ควรทาแผลด้วยเพนิซิลลิน(ทั้งชนิดขี้ผึ้งหรือยาฉีดที่เรียกว่า โปรเคน) หรือชัลฟา (ทั้งชนิดขี้ผึ้งหรือยาผง) ยานี้ระยะแรก ๆ อาจทำให้แผลห้อง แต่ทาต่อไปจะทำให้เกิดการแพ้ มีอาการบวมคัน และแผล กลับเฟะได้ ถ้าจะใช้ยาทาควรใช้ขี้ผึ้งเตราไซคลีน หรือ ครีมเจนตาไมซินน้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อม
4.ผู้ที่เป็นแผลเรื้อรังไม่หายขาด อาจเนื่องจากมีภาวะซีดหรือขาดอาหาร จึงควรบำรุงอาหารดังในข้อ 2
นอกจากนี้อาจมีสาเหตุจากเบาหวาน ควรตรวจดูน้ำตาลในปัสสาวะหรือในเลือด ถ้าสงสัยเป็นเบาหวาน ควรส่งโดรงพยาบาล
5.แผลอักเสบเป็นหนองมักเกิดจากการดูแลบาดแผลสด (เช่น แผลถลอก มีดบาด) ที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น จงควรแนะนำการดูแลบาดแผลสด ดังนี้
- เมื่อมีบาดแผลสด ควรล้างแผลด้วยน้ำสะอาดกับสบู่ทันที เพื่อชะล้างเอาสิ่งสกปรกออกไป
- ทารอบแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น โพวิโดนไอโอดีน ทิงเจอร์ใส่แผลสด (merthiolate) อย่าใช้น้ำยา ฆ่าเชื้อรวมทั้งไฮโดรเจนพอร์ออกไซด์ทาหรือฟอกตรง เนื้อแผล เนื่องจากน้ำยาฆ่าเชื้ออาจทำลายเนื้อเยื่อ ทำให้ แผลหายช้าได้
- อย่าให้แผลถูกน้ำ หรือใช้น้ำลาย น้ำหมากหรือสิ่งสกปรกอื่นๆ พอกที่แผล
- กินอาหารได้ตามปกติ ควรกินอาหารพวกโปรตีน ผักและผลไม้ให้มาก ๆ
- ถ้าบาดแผลสกปรก ควรให้ยาปฏิชีวนะ
- แนะนำให้ฉีดยาป้องกันบาดทะยักในรายที่จำเป็น
- ถ้าแผลกว้าง (ขอบแผลห่างกันจนไม่สามารถใช้ปลาสเตอร์ปิดถึงให้ชิดกันได้) ควรให้แพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทำการเย็บแผล
Ambulance call
1669
Available 24 Hours
Are you five-star healthcare provider?
list your practice
to reach million of patient