อาการ
ระยะแรก (โรคเรื้อนไม่ทราบชนิด) ผิวหนังจะ เป็นวงขาวหรือสีจาง ขอบไม่ชัดเจน ผิวหนังในบริเวณนี้จะมีขนร่วงและเหงื่อออกน้อยกว่าปกติ แต่ยังไม่ค่อยรู้สึกชาและเส้นประสาทเป็นปกติ มักจะพบที่หลังก้น แขนขา ระยะนี้อาจหายได้เอง หรืออาจมีอาการเปลี่ยนแปลงเป็นโรคเรื้อนชนิดอื่น
โรคเรื้อนชนิดทูเบอร์คูลอยด์ ส่วนมากจะมีผื่น เดียวเป็นวงขาว หรือสีจางขอบชัดเจน หรือเป็นวงขาว มีขอบแดงนูนเล็กน้อย หรือเป็นวงขาว ขอบนูนแดง หนาเป็นปื้น อาจมีสะเก็ดเล็กน้อยหรือไม่มีก็ได้ ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-10 ซม. ตรงกลางผื่นจะไม่มีขน ไม่มีเหงื่อ และชา (หยิกหรือใช้เข็มแทงไม่เจ็บ หรือใช้สำลีแตะไม่มีความรู้สึก) พบบ่อยที่บริเวณหน้า ลำตัวและก้นโรคเรื้อนชนิดนี้จะตรวจไม่พบเชื้อ
บางครั้งอาจตรวจพบเส้นประสาทบวมโตที่ใต้ผิวหนังในบริเวณที่เป็นโรค หรืออาจคลำได้เส้นสระสาทอัลนา (ulnar nerve) ที่บริเวณด้านในของข้อศอก หรือเส้นประสาทที่ขาพับ (peroneal nerve) ตรงบริเวณใต้หัวเข่าด้านนอก หรือเส้นประสาทใหญ่ใต้หู (great auri cular nerve) ตรงด้านข้างของคอ จะมีลักษณะเป็นเส้นแข็งๆ และอาจมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย ส่วนมากจะตรวจพบเส้นประสาทบวมโตเพียงซีกใดซีกหนึ่งของร่ากายเท่านั้น
โรคเรื้อนชนิดก้ำกึ่ง – ทูเบอร์คูลอย์ อาการทางผิวหนังคล้ายกับชนิดทูเบอร์คูลอยด์ แต่จะมีจำนวนผื่นมากกว่า การตรวจเชื้อจากผิวหนังพบได้บ้าง แต่ไม่มากนัก
โรคเรื้อนชนิดก้ำกึ่ง ผิวหนังขึ้นผื่นเป็นวงแหวนหรือวงรี ขอบนูนแดงหนาเป็นมัน ขอบในชัดเจนกว่าขอบนอก ตรงกลางผื่นจะไม่มีขน ไม่มีเหงื่อแบบเดียวกับชนิดทูเบอร์คูลอยด์ และจะชาน้อยกว่าชนิดทูเบอร์คูลอยด์ การตรวจเชื้อจากผิวหนังพบได้บ้างแต่ไม่มากนัก
โรคเรื้อนชนิดก้ำกึ่ง – เลโพรมาตัส และ
ชนิดเลโพรมาตัส จะมีลักษณะคล้ายกัน ต่างกันที่จำนวนและการกระจายของรอยโรค และจำนวนเชื้อที่ตรวจพบจากผิวหนังหรือเยื่อบุจมูก
ผิวหนังจะมีลักษณะเป็นผื่นแดง ขอบเขตไม่ชัดเจนแล้วต่อมาจะหนาเป็นเม็ด เป็นตุ่มหรือเป็นแผ่น ผิวมักแดงเป็นมันเลื่อม ไม่เจ็บไม่คัน ไม่ชา ผื่นตุ่มเหล่านี้ จะขึ้นกระจายทั้ง 2 ข้างของร่างกาย พบบ่อยตามใบหน้า ใบหู ข้อศอก ข้อเข่า ลำตัว และก้น ขนคิ้วส่วนนอก (ส่วนหางคิ้ว)
มักจะร่วง และขาบวม
ในระยะท้ายของโรค ผิวหนังจะเห่อหนา มีลักษณะหูหนาตาเล่อ และมีเส้นประสาทบวมโตพร้อมกันทั้ง 2 ข้างของร่างกาย เส้นประสาทที่พบได้บ่อยได้แก่ เส้นประสาทอัลนา และเส้นประสาทใหญ่ใต้หู ทำให้มีอาการชา นิ้วเท้างอ เหยียดไม่ออก มือหงิก เท้าตก นิ้วกุด หรือตาบอด
เยื่อบุจมูกมักมีอาการอักเสบตั้งแต่ในระยะแรกๆ (มีอาการคันจมูก น้ำมูกมีเลือดปน) ต่อมาจะมีแผลเปื่อย ที่ผนังกั้นจมูก จนทำให้จมูกแหว่ง นอกจากนี้ก็ยังมัก จะมีการอักเสบของกระจกตา และเยื่อบุในช่องปากร่วมด้วย
โรคเรื้อนชนิดนี้ มักตรวจพบเชื้อจำนวนมากแพร่ กระจายโรคให้ผู้อื่นได้ง่าย มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ถ้าไม่ได้รับการรักษา อาจตายภายใน 10-20 ปี
ภาพแสดงลักษณะอาการชองผู้ป่วย
ข้อแนะนำ
1.โรคเรื้อนเป็นคนที่มีทางรักษาให้หายขาดได้ และถ้าได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม จะสามารถ ป้องกันมิให้เกิดความพิการได้
2.ผู้ป่วยควรกินยาตามแพทย์สั่งเป็นประจำ อย่าหยุดยาเองจนกว่าแพทย์จะบอกให้เลิก
3. ถ้ามีอาการชาของมือเท้า ควรระวังอย่าถูกของร้อน (เช่น บุหรี่ เตาไฟ น้ำร้อน) หรือของมีคม ควรใช้ ผ้าพันมือเวลาทำงานและสวมรองเท้าเวลาออกนอกบ้าน
ถ้ามีบาดแผลเกิดขึ้น ควรรีบหาหมอโดยเร็วอย่าปล่อยให้ลุกลามจนพิการ
4. ผู้ป่วยควรนอนแยกต่างหากจากผู้อื่น และอย่าใช้เสื้อผ้าและของใช้ร่วมกับผู้อื่น
5. ควรอธิบายให้ประชาชนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจต่อโรคนี้อย่างถูกต้องและแก้ไขความเชื่อผิดๆ เช่น
- โรคเรื้อนไม่ใช่โรคกรรมพันธุ์ที่ติดไปชั่วลูกชั่วหลาน แต่เป็นโรคติดเชื้อที่ติดต่อได้ยาก ถ้ามีพ่อหรือ แม่เป็นโรคเรื้อน หากแยกลูกย่าให้ใกล้ชิดด้วยจนกว่าจะพ้นระยะติดต่อ ลูกก็จะไม่เป็นไรนี้
- โรคเรื้อนไม่ได้ติดจากสุนัขขี้เรื้อน ไม่ได้เกิดจาการร่วมประเวณีกับผู้หญิงที่มีประจำเดือน ไม่ติดต่อ ทางอาหารและน้ำหรือเกิดจากการกินของเสลง เช่น หูฉลาม เป็ด ห่าน เป็นต้น
6. ถึงแม้จะรักษาให้พ้นระยะติดต่อ (เชื้อในร่างกายหมดไป) แต่ความพิการที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ มักจะเป็น อย่างถาวร แพทย์อาจแก้ไขด้วยการทำศัลยกรรมตกแต่ง หรือวิธีการทางกายภาพบำบัดต่าง
Ambulance call
1669
Available 24 Hours
Are you five-star healthcare provider?
list your practice
to reach million of patient