อาการ
มีอากาการแสดงได้หลายชนิด ซึ่งอาจเป็นชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดร่วมกัน ดังนี้
- โซริอาซิสชนิดปื้นหนา (plaque psoriasis) ซึ่ง และมีขุยสีขาว (สีเงิน) อยู่ที่ผิว ต่อมาตุ่มจะค่อยๆ ขยายออกจนกลายเป็นใหญ่และหนา และขุยสีขาวที่ผิวจะหนาตัวขึ้นเห็นเป็น เกล็ดเงิน (ด้วยเหตุนี้ ชาวบ้านจึงเรียกว่า โรคเกล็ดเงิน หรือสะเก็ดเงิน) เกล็ดนี้จะร่วงเวลาถอดเสื้อหรือเดินไปไหนมาไหน หรือร่วงอยู่ตามเก้าอี้หรือที่นอน ถ้าขูดเอา เกล็ดออกจะมีรอยเลือดออกซิบๆ
รอยโรคอาจมีอาการคันหรือเจ็บ และอาจดู คล้ายอาการของโรคกลาก ผิวหนังอักเสบจากภูมิ แพ้
ความผิวปกติดังกล่าวอาจเกิดที่ผิวหนังได้ทุกส่วน แต่มักจะพบที่หนังศีรษะ และผิวหนังส่วนที่เป็นปุ่มนูนของกระดูก ที่พบบ่อยได้แก่ ข้อศอก ข้อเข่า อาจพบที่บริเวณก้นกบ หน้าแข็ง รอยโรคจะมีขนาดต่างๆ กันอาจขึ้นเพียงไม่กี่แห่งหรือกระจายทั่วไปก็ได้ นอกจากนี้รอยโรคลักษณะดังกล่าวยังชอบขึ้นตามบริเวณผิวหนัง ที่เคยได้รับบาดเจ็บหรือชอกซ้ำ เช่น รอยบาดแผล รอย ขีดข่วน เป็นต้น บางรายอาจมีรอยโรคภายในเยื่อบุช่องปากหรือบริเวณอวัยวะเพศก็ได้
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีรอยโรคลักษณะดังกล่าว เป็นปื้นหนาๆ ขึ้นๆ ยุบ ๆ อยู่ตลอดเวลา ไม่หายขาด
- โซริอาซิสชนิดตุ่มเล็ก (guttate psoriasis) มักพบในคนอายุต่ำกว่า 30 ปี และมักเกิดอาการครั้งแรก หลังจากเป็นคออักเสบจากเชื้อสเตรปโตค็อกคัส ลักษณะเป็นตุ่มหรือผื่นแดงเล็กๆ รูปร่างคล้ายหยดน้ำ ขึ้นตาม ลำตัว แขน ขา หนังศีรษะ และมีเกล็ดเงินเล็กๆ ปกคลุ่ม อาจเกิดอาการเพียงครั้งเดียวแล้วหายขาดไปเลย หรือ อาจกำเริบซ้ำๆโดยเฉพาะเวลาที่มีการติดเชื้อของทางเดินหายใจ รอยโรคอาจดูคล้ายผื่นพีอาร์ ซิฟิลิส ผื่นแพ้ยา
- โซริอาซิสชนิดรอยพับ (inverse/flexural psoriasis) ลักษณะเป็นรอยแดง ผิวราบเรียบ มีขอบเขตชัดเจนไม่มีเกล็ดเงินพบที่รักแร้ ขาหนีบ ใต้นม ข้อพับต่างๆ และรอบๆ อวัยวะเพศ มักพบในผู้ที่น้ำหนักเกิน หรืออ้วน อาการจะกำเริบมากขึ้นเมื่อมีเหงื่อออกหรือมี การเสียดสี รอยโรคดูคล้ายโรคสังคัง โรคเชื้อรา แคนดิดา
- โซริอาซิสชนิดตุ่มหนอง (pustular psoriasis) ซึ่งพบได้บ่อยลักษณะขึ้นเป็นตุ่มน้ำขุ่นแบบตุ่มหนอง โดยไม่มีการติดเชื้อ(sterile pustule) แรกเริ่มจะขึ้นเป็น ผื่นแดงเจ็บก่อน หลังจากนั้นไม่กี่ชั่วโมงก็จะพุขึ้นเป็น หนอง แล้วหายเองภายใน 1-2 วัน อาการอาจกำเริบ (เป็นวงจร ผื่นแดงตุ่มหนอง ตกสะเก็ด) ได้ทุกๆ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์ อาจเกิดเฉพาะที่ เช่น ฝ่ามือฝ่าเท้า ปลายนิ้วมือนิ้วเท้า หรือกระจายทั่วตัว ซึ่งอาจมีอาการไข้ หนาวสั่น อ่อนเพลีย น้ำหนักลด คันมากร่วมด้วยรอยโรคดูคล้ายผิวหนังอักเสบที่มีการติดเชื้อแทรกซ้อนพุพอง
- โซริอาซิสชนิดแดงและเป็นเกล็ดทั่วตัว (ery throdermic psoriasis) ซึ่งเป็นชนิดที่พบได้น้อยที่สุดลักษณะเป็นผื่นแดงและมีเกล็ด คนปวดแสบปวดร้อน ขึ้นกระจายทั่วตัว ผู้ป่วยอาจเป็นโซริอาซิสชนิดปื้นหนา มาก่อน แต่ควบคุมอาการได้ไม่ดี มักกำเริบเวลามีความ เครียด เกิดบาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อยลวก แพ้ยา หรือติดเชื้อ หรือหยุดยาสตีรอยด์ที่เคยกินเป็นประจำ อาจมีภาวะ แทรกซ้อนแบบบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก เช่น ภาวะขาดน้ำ การติดเชื้อ เป็นอันตรายถึงเสียชีวิตได้
- โซริอาซิสชนิดเกิดที่หนังศีรษะ (scalp pso riasis) พบได้ประมาณร้อยละ 50 ของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ อาจมีอาการเกิดขึ้นอาจมีอาการเกิดขึ้นก่อนมีผื่นตามตัว ลักษณะเป็นผื่น แดงหนา ขอบเขตชัดเจน และมีเกล็ดเงินขึ้นตามแนวไรผม บางครั้งอาจลามมาที่หน้าผาก มักไม่มีอาการผมร่วงอาจมีอาการคัน เวลาเกาหนังศีรษะอาจมีเกล็ดหนังร่วง เกาะตามผมและไหล่ ลักษณะคล้ายรังแคmโรคกลากที่ศีรษะ
- โซริอาซิสชนิดเกิดที่เล็บ (nail Psoriasis) เกิดได้ทั้งที่เล็บมือเล็บเท้า มีอาการได้หลายลักษณะ เช่น มีจุดสีน้ำตาลใต้เล็บ เล็บเป็นหลุม เล็บขุขระ เล็บแยกตัวออกจาเนื้อใต้เล็บ (onycholysis) ผิวใต้เล็บหนา (subungual keratosis) มักเกิดร่วมกับเนื้อเยื่อขอบเล็บอักเสบ (paronychia) บางครั้งอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อราร่วมด้วย อาจทำให้เข้าใจว่าเป็นโรคกลากที่เล็บ(190)โรคเชื้อราแคนดิดาที่เล็บ ในรายที่เป็นรุนแรงเนื้อ เล็บจะเปื่อยยุ่ย ถูกทำลาย
- ข้ออักเสบจากโซริอาซิส (Psoriatic arthritis) พบได้ประมาณร้อยล่ะ 5-15 ของผู้ป่วยโซริอาซิส ส่วนมากพบร่วมกับรอยโรคที่ผิวหนังเรื้อรัง ส่วนน้อยอาจมี อาการข้ออักเสบนำมาก่อนอาการที่ผิวหนัง มักพบที่ข้อนิ้วมือนิ้วเท้าซึ่งมีลักษณะปวด บวม และข้อแข็ง คล้ายโรคปวดข้อรูมาตอยด์ บางรายอาจมีการอักเสบของ ข้อเข่า สะโพก และข้อกระดูกสันหลัง อาจเป็นเพียงข้อเดียวหรือหลายข้อพร้อมกันก็ได้ อาการข้ออักเสบอาจ ค่อยๆ เป็นรุนแรงขึ้นจนข้อพิการในที่สุดก็ได้
ข้อแนะนำ
1.โรคนี้มักมีอาการเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง โดยมีบางช่วงที่อาจหายดีเหมือนปกติ แต่สักพักหนึ่งก็กลับ กำเริบขึ้นอีก บางรายอาจมีระยะสงบจากอาการนานเป็น ปีๆ แต่บางรายอาจกำเริบบ่อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมี ภาวะเครียดทางร่างกายหรือจิตใจ ดังนั้นจึงควรติดต่อ รักษากับแพทย์คนใดคนหนึ่งอย่างต่อเนื่อง อย่าเปลี่ยน แพทย์ เปลี่ยนโรงพยาบาลบ่อย
2.โรคนี้แม้จะเป็นเรื้อรัง แต่มักจะไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง แม้จะมีรอยโรคแลดูน่าเกลียด แต่ก็ไม่ได้เป็นโรคติดต่ออย่างโรคเชื้อราหรือโรคเรื้อน (บางคนเรียกชื่อโรคนี้ว่า โรคเรื้อนกวาง ซึ่งอาจทำให้เข้าใจผิดว่า เป็นโรคเรื้อน) สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างใกล้ชิดได้และก็ไม่ได้เป็นโรคร้ายแบบมะเร็งหรือเอดส์ ดังนั้น จึงควรอธิบายให้ญาติพี่น้องของผู้ป่วยและคนทั่วไปเข้าใจ จะได้ให้การดูแลและให้กำลังใจแก่ผู้ป่วย อย่าแสดงความรังเกียจจนทำให้ผู้ป่วยรู้สึกมีปมด้วยหรือ ซึมเศร้า
3. ผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีอาการและความรุนแรงแตกต่างกันไป อาจอาการเพียงชนิดใดชนิดหนึ่งหรือ มากกว่า1ชนิด หรือเปลี่ยนชนิดไปมาก็ได้ บางรายอาจมีผื่นขึ้นเฉพาะที่ ไม่ลุกลามออกไป แต่บางรายอาจทวี ความรุนแรงไปเรื้อยโดยทั่วไปถ้าเริ่มมีอาการครั้งแรก ตอนอายุน้อยก็มีโอกาสเกิดความรุนแรงมากขึ้น อย่างไร ก็ตามผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการเพียงเล็กน้อย สามารถ รักษาด้วยการใช้ยาสตีรอยด์ทาเป็นครั้งคราว สามารถ ทำงานและดำเนินชีวิตได้อย่างคนปกติทั่วไป
4.โรคนี้อาจแสดงอาการได้หลายแบบ และอาจคล้ายกับโรคผิวหนังอื่นๆ เช่น กลาก โรคเชื้อราแคนดิดา ผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ ผื่น
พีอาร์ รังแค เป็นต้น ดังนั้นถ้าให้การดูแลรักษาโรคเหล่านี้ไม่ได้ผล ก็ควรจะนึกถึงโรคโซริอาซิส
5.เพื่อป้องกันมิให้โรคกำเริบ ผู้ป่วยควรปฏิบัติ ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการกินยากหม้อที่มีสารหนู ซึ่งอาจทำให้อาการทุเลา แต่ถ้ากินติดต่อกันนาน ๆ อาจทำให้เป็นมะเร็งได้
- หลีกเลี่ยงการซื้อยาชุด ยาสมุนไพร และยาลูกกลอนกินเอง เพราะอาจแพ้ยาทำให้โรคกำเริบได้หรือไม่อาจได้ยาสตีรอยด์ที่ผสมอยู่ในยาชุดหรือยาลูกกลอน ซึ่งแม้ว่าจะทำให้โรคทุเลา แต่เมื่อหยุดยาก็อาจ ทำให้โรคกำเริบรุนแรงได้ โดยทั่วไปแพทย์จะหลีกเลี่ยงการให้ยาสตีรอยด์ชนิดกินแก่ผู้ป่วย เพราะกลัวโรคกำเริบ หลังการหยุดยา แต่จะให้ใช้สตีรอยด์ชนิดทาหรือฉีดเข้าเฉพาะที่
- ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่าอดนอน หรือตรากตรำงานหนัก
- พยายามอย่าให้เกิดภาวะเครียดโดยการออกกำลังกาย ฝึกโยคะ ซี่กง รำมวยจีน ทำสมาธิ ทำงานอดิเรก เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงการขีดข่วนถูกผิวหนัง
- งดการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์
- ควรให้ผิวหนังได้ถูกแดด (อาบแดด) แต่ไม่ควรถูกนานเกินไป ยกเว้นในรายที่แพ้แดด ควรหลีกเลี่ยงการถูกแดด
6.โรงพยาบาลควรส่งเสริมให้กลุ่มผู้ป่วยได้พบ ปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ในการดูแล ตนเอง และให้กำลังใจซึ่งกันและกัน หากเป็นไปได้ ควรจัดให้ผู้ป่วยรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนหรือกลุ่มมิตรภาพบำบัด
Ambulance call
1669
Available 24 Hours
Are you five-star healthcare provider?
list your practice
to reach million of patient