ต่อมลูกหมากโต (Benign prostatic hyperplasia/BPH)
ผู้ชายเมื่อมีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ต่อมลูกหมาก * จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเป็นก้อนโต แล้วจะโต ขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุ เมื่อโตมากจะเกิดแรงกดต่อท่อปัสสาวะ ทำให้มีอาการปัสสาวะลำบาก ซึ่งมักจะเริ่มแสดงอาการเมื่อมีอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป และจะพบอาการผิดปกติได้มากขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้นพบว่าผู้ชายอายุ 55-74 ปี จะมีอาการแสดงของโรคนี้ประมาณร้อยละ 20 บางคนอาจมี ต่อมลูกหมากโตโดยไม่มีอาการแสดงก็ได้
สาเหตุ
ยังไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับการ เปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศชาย ที่ชื่อว่า ไดไฮโดรเทสโทสเทอโรน (dihydrotestosterone) ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้ต่อมลูกหมากโต
อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการถ่ายปัสสาวะลำบาก ต้องออก แรงเบ่งหรือรอนานกว่าจะถ่ายปัสสาวะออกมาได้ ทำให้ ใช้เวลาในการ ถ่ายปัสสาวะนาน ปัสสาวะไม่พุ่ง ลำปัสสาวะเบี้ยวหรือเล็กลง มีความรู้สึกเหมือนถ่ายไม่สุดและ ปัสสาวะบ่อย ห่างกันไม่ถึง 1- 2 ชั่วโมง มีความรู้สึกเวลาปวดปัสสาวะต้องรีบเข้าห้องน้ำทันที อาจถ่ายปัสสาวะ กะปริดกะปรอย ถ่าย ๆ หยุด ๆ หลายครั้ง ปัสสาวะออก เป็นหยด ๆ ในช่วงถ่ายของการถ่าย หลังเข้านอนตอนกลางคืนต้องลุกขึ้นปัสสาวะบ่อย
อาการมักค่อยๆ เป็นมากและดีขึ้นอย่างช้า ๆ โดยใช้เวลาเป็นแรมปี จนกระทั่งต่อมลูกหมากโตมากและกดท่อปัสสาวะ อย่างรุนแรงก็จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการถ่ายปัสสาวะไม่ออก มีความรู้สึกปวดปัสสาวะ ปวดตึงท้องน้อย และคลำได้ก้อนของ กระเพาะปัสสาวะที่มีปัสสาวะคั่งเต็ม บางครั้งอาการปัสสาวะไม่ออกเฉียบพลันอาจเกิด หลังจากใช้ยาที่มีฤทธิ์แอนติโคลิเนอร์จิก เช่น แอนติสปาสโมดิก (ย20) ยาแก้แพ้ (ย7) ยาทางจิตประสาท (ย17) เป็นต้น และยากลุ่มกระตุ้นประสาทซิมพาเทติก (sympathomimetic) เช่น อะดรีนาลิน (ย11) สูโดเอฟีดรีน (ย8.2) เป็นต้น หรืออาจเกิดหลังดื่มแอลกอฮอล์ วางยาสลบ หรือนอนอยู่ นาน ๆ (ไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย)
บางรายอาจมีอาการถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด เนื่อง จากการเบ่งถ่ายนาน ๆ อาจทำให้หลอดเลือดดำที่ท่อปัสสาวะคั่ง แล้วแตกมีเลือดออกได้
การรักษา
หากสงสัยควรส่งโรงพยาบาลหรือปรึกษาแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ มักจะทำการวินิจฉัยโดยการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น การถ่ายภาพรังสีทางเดินปัสสาวะโดยการฉีดสารทึบรังสีเข้าหลอดเลือดดำ (intravenous urography) การตรวจอัลตราซาวนด์ การใช้กล้องส่องตรวจกระเพาะ ปัสสาวะ (cystoscopy) เป็นต้น นอกจากนี้อาจทำการ ตรวจปัสสาวะ (ดูการติดเชื้อหรือเลือดออก) ตรวจระดับครีอะตินีนในเลือด (ดูภาวะไตวาย) ตรวจสารพีเอสเอ ในเลือด (PSA)*
การักษา แพทย์จะให้การดูแลรักษาตามภาวะที่ พบดังนี้
- ในรายที่เป็นระยะแรกเริ่ม มีอาการเล็กน้อยไม่ต้องให้การรักษาใด ๆ เฝ้าติดตามดูอาการเป็นระยะ
- ในรายที่มีอาการปัสสาวะลำยากมากขึ้น มีผล
กระทบต่อคุณภาพชีวิตหรือเป็นมาก แต่อยู่ระหว่างรอผ่าตัดหรือมีข้อห้ามในการผ่าตัด แพทย์จะให้การรักษา ด้วยยาชนิดใด ชนิดหนึ่ง ดังนี้
ยากลุ่มปิดกั้นแอลฟา (alpha-blockers) เช่น พราโซซิน (prazosin) 2 มก. วันละ 2 ครั้ง เทราโซซิน (terazosin)
2-10 มก. วันละครั้งก่อนนอน หรือดอกซา โซซิน (doxazosin) 4-8 มก. วันละครั้งก่อนนอน เป็นต้น ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์ ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อต่อมลูกหมากและกล้ามเนื้อหูรูดที่คอกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ถ่ายปัสสาวะได้คล่องขึ้น นอกจากนี้ ยังมีฤทธิ์ลดความดันโลหิต เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีโรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วย
ยากลุ่มยับยั้งเอนไซม์แอลฟารีดักเทศ (alpha reductase inhibitors) เช่น ไฟนาสเตอไรด์ (finasteride) 5 มก. วันละครั้ง -
อย่างน้อย 3 เดือน จึงจะเห็นผล ยานี้ มีฤทธิ์ยับยั้งไม่ให้เทสโทสเทอโรนเปลี่ยนเป็นไดไฮโดรเทสโทสเทอโรน (ซึ่งกระตุ้นให้ต่อมลูกหมากโต) ก็จะทำให้ต่อมลูกหมากเล็กลงได้ประมาณร้อยละ 30 ยานี้มีข้อดีทำให้ผมดกขึ้น เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มี ผมบางหรือศีรษะล้านร่วมด้วย
- ในรายที่ใช้ยาไม่ได้ผลหรือมีอาการปัสสาวะไม่ ออก ปัสสาวะเป็นเลือดบ่อย ๆ เป็นโรคติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ
บ่อย ๆ มีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือผนัง กระเพาะปัสสาวะหย่อนยานหรือเป็นถุงโป่งพอง แพทย์จะทำการรักษาด้วย การผ่าตัดซึ่งมีอยู่หลายวิธี ในปัจจุบันนิยมวิธีผ่าตัดโดยการใช้กล้องส่องผ่านท่อปัสสาวะ (transurethral resection of the prostate/TURP) แต่ถ้าต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่มาก ก็อาจต้องทำการผ่าตัด โดยการเปิดเข้าหน้าท้อง (suprapubic หรือ retropubic prostectomy) วิธีนี้อาจทำให้เกิดภาวะกลั่นปัสสาวะไม่ได้ และภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศแทรกซ้อนหลัง ผ่าตัดมากกว่า การผ่าตัดโดยการใช้กล้อง
ผู้ป่วยบางราย แพทย์อาจเลือกรักษาด้วยวิธีอื่นที่ง่ายและเสี่ยงน้อยกว่าการผ่าตัด เช่น
การขยายท่อปัสสาวะโดยการใส่ท่อคาไว้ (prostatic urethral stwnt) ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ผ่าตัด
ไม่ได้หรือปฏิเสธการผ่าตัด
การจี้ต่อมลูกหมากด้วยแสงเลเซอร์ (trans urethral laser incision of prostate/TULIP) หรือด้วย
ไฟฟ้า (transurethral electrovaporization of prostate) การใช้คลื่นไมรโครเวฟ (microwave ther motherapy) หรือคลื่นอัลตราซาวนด์ (high frequency focus ultrasound thermotherapy) หรือคลื่นวิทยุ (radiofrequency vaporization) ทำให้เกิดความร้อนบริเวณ ต่อมลูกหมากจนเนื้อเยื่อตาย ต่อมลูกหมากก็จะ ฝ่อลงทำให้ปัสสาวะได้คล่องขึ้น
หากวิธีเหล่านี้ไม่ได้ผล ก็จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
- ให้การรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น เช่นให้ยาปฏิชีวนะโรคติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ ใช้ สายสวนปัสสาวะในราย
ที่ปัสสาวะไม่ออก เป็นต้น
ข้อแนะนำ
- < >sympathomimetic) โรคนี้เป้นภาวะที่ไม่รุนแรง และมีทางรักษาให้
หายไดด้วยการผ่าตัด แต่ถ้าปล่อยไว้ อาจมีภาวะแทรกซ้อนอันตรายร้ายแรงได้
- อาการถ่ายปัสสาวะลำบากในผู้ชายสูงอายุ อาจมีสาเหตุจากโรคมะเร็งของต่อมลูกหมาก(237.15)หรือมะเร็ง
ของกระเพาะปัสสาวะ (237.16) ก็ได้ ซึ่งบางครั้ง อาจแยกอาการจากต่อมลูกหมากโตไม่ออก ดังนั้นทาง ที่ดีควรแนะนำให้ ผู้ชายสูงอายุที่มีอาการปัสสาวะลำบากไปตรวจที่โรงพยาบาลทุกราย
Ambulance call
1669
Available 24 Hours
Are you five-star healthcare provider?
list your practice
to reach million of patient