การรักษา
1. แนะนำให้ผู้ป่วยพักผ่อน ดื่มน้ำมาก ๆ และใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเวลามีไข้สูง ควรให้ผู้ป่วยกินอาหารอ่อน เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก น้ำชุบ นม น้ำหวาน ควรกลั้วคอด้วยน้ำเกลือ (ผสมเกลือป่นประมาณ 1 ช้อนชา หรือ 5 มล. ในน้ำอุ่น1 แก้ว) วันละ 2- 3 ครั้ง ถ้าเจ็บคอมากให้ดื่มน้ำเย็นหรือเครื่องดื่ม
เย็น ๆ หรือออมก้อนน้ำแข็ง
2. ในรายที่เกิดจากไวรัส (ซึ่งจะมีอาการคอหอยและทอนซิลแดงไม่มาก และมักมีอาหารน้ำมูกใส ไอ ตา แดง เสียงแหบ หรือท้องเดินร่วมด้วย)
ให้การรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้พาราเซตามอล ยาแก้ไอ โดยไม่ต้องให้ยาปฏิชีวนะ ก็มักจะหายได้เองภาย ใน 1 - 2 สัปดาห์
3. ในรายที่มั่นใจว่าเกิดจากบีตาฮีโมไลติกสเตรปโตค็อกคัสกลุ่มเอ (ซึ่งจะมีอาการไข้สูงร่วมกับทอนซิล บวมแดงจัด และมีแผ่นหรือจุดหนอง มีต่อม
น้ำเหลืองที่บริเวณใต้ขากรรไกรหรือข้างคอด้านหน้า และไม่มี อาการน้ำมูกไหล ไอ ตาแดง) นอกจากให้การรักษาตาม อาการแล้ว ควรให้ยาปฏิชีวนะ ได้แก่ เพนิซิลลินวี หรืออะม็อกซีชิลลิน ถ้าแพ้ยานี้ให้ใช้อีริโทรไมซิน แทนให้ยาสัก 3 วันดูก่อน ถ้าดีขึ้นควรให้ต่อจนครบ 10 วัน
เพื่อป้องกันมิให้เกิดไข้รูมาติก หรือหน่วย ไตอักเสบแทรกซ้อน
ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 3 วัน กินยาไม่ได้ หรือ สงสัยมีโรคแทรกซ้อนรุนแรง หรือเป็น ๆ หาย ๆ บ่อย ๆ ให้แนะนำผู้ป่วยไปโรงพยาบาล อาจต้องตรวจเลือด เพาะเชื้อ เอกซเรย์ เป็นต้น แล้วให้การรักษาตามสาเหตุหรือ ภาวะที่พบ เช่น
- ถ้าผู้ป่วยมีอาการอาเจียน กินยาไม่ได้ หรือไม่มั่นใจว่าจะกินยาได้ครบ 10 วัน และไม่มีประวัติการแพ้ยาเพนิซิลลิน แพทย์อาจฉีดเบนซาทีนเพนิซิลลิน (henzathine penicillin) ขนาด 600,000 ยูนิต สำหรับ ผู้ที่มีน้ำหนัก น้อยกว่า 27 กก. หรือ 1,200,000 ยูนิต สำหรับ ผู้ที่มีน้ำหนัก มากกว่า 27 กก. โดยฉีดเข้ากล้ามเพียงครั้งเดียว ในรายที่กินยาได้ อาจให้ยาปฏิชีวนะชนิดกิน เพียง 5 วัน เช่น โคอะม็อกซิคลาฟ อะซิโทรไมซิน (azithromycin) คลาริโทรไมซิ (clarithromycin) เป็นต้น
- ถ้าพบว่าเชื้อดื้อยาเพนิซิลลิน อาจเปลี่ยนไปให้ยากลุ่มอื่น เช่น โคอะม็อกซิคลาฟ เซฟาตรอกซิล (cefadroxil) เป็นต้น
- ถ้าเป็นฝีทอนซิล อาจต้องผ่าหรือเจาะเอาหนองออก
- นรายที่เป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง (ปีละมากกว่า 4 ครั้ง) จนเสียงานหรือหยุดเรียนบ่อย มีอาการอักเสบของหูชั้นกลางบ่อย หรือก้อนทอนซิลโตจนอุดกั้นทางเดินหายใจ อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดทอนซิล (tonsillectomy)
4.ในรายที่ไม่มั่นใจว่าเกิดจากบีตาฮีโมไลติกสเตรปโตค็อกคัสกลุ่มเอ เช่น มีเพียงแผ่นหรือจุดหนองบนทอนซิล (ซึ่งอาจเกิดจากไวรัสบางชนิดก็ได้) โดยอาการ อื่น ๆ ไม่ชัดเจน อาจต้องส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติมในปัจจุบันมีการตรวจเชื้อบีตาฮีโมไลติกสเตรปโตค็อกคัส กลุ่มเอจากบริเวณคอหอยและทอนซิล ซึ่งสามารถทราบผลภายในไม่กี่นาที เรียกว่า “rapidstreptest” ถ้าให้บวกก็ให้ยาปฏิชีวนะรักษา แต่ถ้าให้ผลลบอาจต้องทำการเพาะเชื้อ ซึ่งจะทราบผลภายใน 1 - 2 วัน
การป้องกัน
เมื่อมีคนใกล้ชิดป่วยเป็นคอหอยหรือทอนซิลอักเสบควรปฏิบัติเช่นเดียวกับไข้หวัด เช่นผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการไอหรือจามรดผู้อื่น คนที่ยังไม่ป่วยอย่าอยู่ใกล้กับผู้ป่วย อย่าใช้ของใช้ร่วมกับผู้ป่วย และหมั่นล้างมือด้วยน้ำกับสบู่ เป็นต้น
Ambulance call
1669
Available 24 Hours
Are you five-star healthcare provider?
list your practice
to reach million of patient