การรักษา
เมื่อผู้ป่วยมาถึงสถานพยาบาล ควรปฏิบัติดังนี้
1. ทำความสะอาดบาดแผล และตรวจดูรอยเขี้ยวและลักษณะแผลที่ถูกงูกัด ว่าเข้าลักษณะของแผลงูพิษ หรืองูไม่มีพิษ หรือ
สัตว์อื่นกัด
การวินิจฉัยผู้ป่วยงูกัด ต้องอาศัยข้อมูล ได้แก่
ก. สถานที่ที่ถูกกัดและอาชีพของผู้ป่วย ถ้าเป็นชาวนาในภาคกลางถูกกัดในท้องนา มักมีสาเหตุจาก งูเห่าหรืองูแมวเซากัดมากกว่างูพิษชนิดอื่น ชาวประมงถูกกัดในทะเล มักมีสาเหตุจากงูทะเล ถ้าถูกกัดในบริเวณบ้านก็มักจะมีสาเหตุจากงูเขียวหางไหม้
ข. ลักษณะของงูพิษ ถ้านำตัวงูมาด้วย หรือ ผู้ป่วยสามารถบอกถึงลักษณะของงูได้แน่ชัด ก็จะช่วย วินิจฉัยชนิดของงูและพิษ
ที่ผู้ป่วยได้รับได้ง่ายขึ้น แต่ถ้าไม่ทราบชนิดของงู ก็ต้องตรวจดูงูที่นำมานั้นว่ามีเขี้ยวพิษหรือไม่
ค. รอยเขี้ยว ผู้ที่ถูกงูพิษกัดจะต้องตรวจพบรอยเขี้ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าไม่มีใครบอกได้ว่างูที่ กัดนั้นเป็นงูอะไร (หรือรูปร่างอย่างไร) และไม่ได้นำตัวงู มาด้วย การตรวจพบรอยเขี้ยวจะเป็นหลักฐานที่สำคัญที่ บอกว่า เป็นงูพิษกัด
ง. อาการแสดง ทั้งอาการเฉพาะที่และอาการ ทั่วไป จะช่วยบอกถึงชนิดของงูพิษ เช่น ถ้ามีหนังตาตก หรือหยุดหายใจ ก็น่า
สงสัยงูเห่ากัด ถ้าปวดบวมแผล มากและมีอาการเลือดออกก็น่าสงสัยงูในกลุ่มพิษต่อเลือด (โดยเฉพาะอย่างยิ่งงูแมวเซา) ถ้าปวดเมื่อยกล้าม เนื้อมาก และปัสสาวะเป็นสีดำ ก็ช่วยบ่งบอกว่าถูกงูทะเล กัด ถ้ามีอาการปวดบวมตรงบริเวณที่ถูกกัดอย่างมาก โดยไม่มีอาการทางระบบประสาทหรือมีเลือดออก น่าจะเกิดจากพิษงูเขียวหาวไหม้ เป็นต้น
จ. การทดสอบระยะเวลาการจับตัวเป็นลิ่ม เลือด (coagulation time) เป็นวิธีง่ายๆ ที่สามารถทำ ตามสถานพยาบาลทั่วไปโดยเจาะเลือดผู้ป่วย 3-5 มล.ใส่ในหลอดแก้ว (ที่ล้างสะอาดและแห้งสนิท) ตั้งทิ้งไว้ในห้องตรวจ (ในอุณหภูมิห้อง) เป็นเวลา 20 นาที โดยไม่เขย่าหลอดแก้ว ถ้าเลือดในหลอดแก้วไม่กลายเป็นลิ่ม ก็บ่งชี้ว่าน่าจะเกิดจากกลุ่มงูพิษต่อเลือดมากกว่างูเห่า
2. ถ้าพบลักษณะอาการบ่งบอกหรือสงสัยว่าเป็นงูพิษกัด ควรรบส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลทันที แนวทางการรักษา ดังนี้
ก. ถ้าแน่ใจหรือสงสัยว่าเป็นงูพิษกัด ก่อนจะ แก้เชือก ผ้า หรือสายยาง ที่ผู้ป่วยจะต้องัดมาจากบ้าน ควรเตรียมอุปกรณ์ช่วยชีวิต เช่น น้ำเกลือ เซรุ่มแก้พิษงู เครื่องช่วยหายใจ อะดรีนาลิน สตีรอยด์ และยาแก้แพ้ไว้ให้พร้อม
ข. รับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล เพื่อเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ด้วยการบันทึกสัญญาณชีพ (ความดันโลหิต ชีพจร การหายใจ) ทุกชั่วโมง และดูว่ามีอาการทางประสาท เช่น หนังตาตก (สำกรับกลุ่มพิษต่อประสาท) เลือดออกหรือการทดสอบระยะเวลาการจับตัวเป็น
ลิ่มเลือด นานเกิน 2 นาที (สำหรับกลุ่มพิษต่อเลือด) หรือปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและปัสสาวะดำ (สำหรับงูทะเล) หรือไม่ ควรสังเกตอาการเป็นเวลาอย่างน้อย 12 ชั่วโมง หากพ้น 12 ชั่วโมงแล้ว ยังไม่มีอาการพิษต่อระบบทั่วไป เกิดขึ้น ก็สามารถให้ผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลได้ ภาย หลังจากการรักษาบาดแผล
ค. ถ้าผู้ป่วยมีอาการทั่วไปเกิดขึ้น ให้ทำการรักษา ดังนี้
(1) ให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำทันที เพื่อใช้เป็นทางฉีดแซรุ่มแก้พิษงูได้สะดวก
(2) ให้เซรุ่มแก้พิษงู (antivenom) เฉพาะสำหรับงูชนิดนั้นๆ
ในกรณีที่ไม่ทราบว่าถูกงูพิษชนิดใดกัด ก็ต้องอาศัยอาการของผู้ป่วยเป็นหลักในการตัดสินใจ ถ้าผู้ป่วยมีอาการทางประสาท ก็ให้เซรุ่มแก้พิษงูเห่า ถ้า มีอาการเลือดออก ก็ให้เซรุ่มแก้พิษงูแมวเซา เป็นต้น
เซรุ่มแก้พิษงู ควรให้ต่อเมื่อมีอาการพิษต่อระบบทั่วไปเกิดขึ้นแล้ว ถ้ามีพียงอาการเฉพาะที่ ก็ไม่ต้องให้ ยกเว้นในกรณีที่มีอาการเฉพาะที่รุนแรง เช่น บวมเร็ว และบวมมากกว่าครึ่งหนึ่งของแขนหรือ ขาที่ถูกกัด
เซรุ่มที่มีใช้ในประเทศไทย เป็นชนิดผลึกอยู่ในหลอด ก่อนใช้จะต้องละลายน้ำยาทำละลาย 10 มล.ที่บรรจุมาด้วยกัน
การใช้เซรุ่มแก้พิษงูทุกชนิด จะต้องระวังให้มาก เพราะมีโอกาสแพ้เซรุ่มได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น แบบไม่รุนแรง (เช่น ลมพิษ ผื่นคัน คลื่นไส้ อาเจียน ร้อนวูบวาบตามตัว) และส่วนน้อยอาจเป็นแบบรุนแรง (เช่น หอบหืด ความดันต่ำ) อาการมักเกิดภายใน 30 นาที หลังฉีดเซรุ่ม วิธีแก้ไขให้ฉีดอะดรีนาลิน จำนวน 0.3-0.5 มล. เข้าใต้ผิวหนัง
การทดสอบเซรุ่มก่อนว่าจะแพ้หรือไม่โดยการทดสอบทางผิวหนัง (skin test) หรือเยื่อบุเปลือกตา (conjunctival test) พบว่าไม่มีประโยชน์ เนื่องจาก ถึงแม้ผลการทดสอบบอกว่าไม่แพ้ แต่เวลาฉีดจริงก็อาจ จะแพ้ก็ได้ หรือไม่ผู้ป่วยอาจเกิดอาการแพ้รุนแรงจาก การทดสอบก็ได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยยังอาจเกิดอันตรายได้ เนื่องจากเสียเวลาในการทดสอบ ทางที่สะดวกจึงแนะนำให้ฉีดเซรุ่มให้ผู้ป่วยได้เลย แต่ควรเตรียมอะดรีนาลิน สตีรอยด์ ยาแก้แพ้ และอุปกรณ์ช่วยชีวิตไว้ให้ พร้อมเสียก่อน
สำหรับผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้เซรุ่มมาก่อน ถ้าจำเป็นต้องฉีดเซรุ่มแก้พิษงู ให้ฉีดอะดรีนาลิน 0.3-0.5 มล.เข้าใต้ผิวหนัง หรือยาแก้แพ้ เช่น ไดเฟนไฮดรามีน ขนาด 1 มก./กก.(สูงสุด 100 มก.) เข้าหลอดเลือดดำนำไปก่อน แล้วจึงใช้เซรุ่มแก้พิษงูด้วยการหยดเข้าหลอดเลือดอย่างช้า ๆ
ขนาดของเซรุ่มที่ใช้ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ให้ขนาดเท่ากัน เริ่มแรกควรให้ 50 มล.โดยให้ทางหลอดเลือดดำ วิธีที่สะดวก คือฉีดเข้าทางสายน้ำเกลือที่คาไว้ ถ้าต้องให้ปริมาณมาก ๆ ให้ผสมน้ำเกลือนอร์มัล1 ต่อ 5 แล้วหยดเข้าหลอดเลือดดำ ครั้งต่อไปให้อีก 50 มล.ทุก 4-6 ชั่วโมง ถ้าหากมีข้อบ่งชี้ว่าพิษงูยังคงถูกดูดซึมจากตำแหน่งที่ถูกกัดเข้าสู่กระแสเลือดอีก
การให้เซรุ่มแก้พิษงู สามารถให้แก่ผู้ป่วยทุกรายที่มีข้อบ่งชี้ว่าได้รับพิษรุนแรง ไม่ว่าจะถูกกัด มานานเม่าใดก็ตาม ผู้ป่วยบางรายหลังฉีดเซรุ่ม 5-10 วัน อาจมีอาการแพ้เซรุ่ม (serum sickness) ซึ่งจะมีไข้ผื่นคัน ปวดเมื่อยตามข้อ ต่อมน้ำเหลืองโต ชาตามปลายมือปลายเท้า ให้รักษาด้วยเพร็ดนิโซโลน 40-60 มก.ในวันแรก แล้วค่อยๆ ลดขนาดลง จนหยุด ยาภายใน 5-7 วัน
ในกรณีถูกงูที่มีพิษต่อประสาทกัด แล้ว เริ่มเกิดอาการอัมพาตของกล้ามเนื้อ หรือในกรณีที่ไม่มีเซรุ่มแก้พิษงูกลุ่มนี้ อาจให้ยากลุ่มแอนติโคลินแอสเตอเรส (anti-cholinesterase) ช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ ซึ่งใช้ได้ ผลดีในการรักษาพิษงูเห่า และงูทับสมิงคลา
วิธีรักษาให้เริ่มทดสอบว่า ผู้ป่วยตอบสนองต่อยานี้หรือไม่ โดยการทดสอบด้วยยาฉีดเทนซิลอน(Tensilon test) แบบเดียวกับโรคไมแอสทีเนียเกรวิสก่อน โดยฉีดอะโทรพีน ขนาด 0.01 มก./กก. (ผู้ใหญ่ 0.6 มก.) เข้าหลอดเลือดดำ แล้วตามด้วยการฉีดเทนซิลอน ขนาด 0.25 มก./กก. (ผู้ใหญ่ 10 มก.) เข้าหลอดเลือดดำ
ถ้าผู้ป่วยตอบสนอง โดยพบว่าการหายใจดีขึ้น พูดชัด หรือลืมตาได้มากกว่าเดิม ก็ให้ฉีดนีโอสติกมีน (neostigmine) 0.025 มก./กก./ชั่วโมง โดยผสมในน้ำเกลือหยดเข้าหลอดเลือดดำช้า ๆ ร่วมกับฉีดอะโทรพีน ทุก 4 ชั่วโมง
(3) ให้การรักษาตามอาการ เช่น
- ใช้เครื่องช่วยหายใจ ในรายที่หยุดหายใจ (เช่น ถูกงูเห่า หรืองูทะเลกัด)
- ให้เลือด ถ้ามีเลือดออกรุนแรง (เช่น ถูกงูแมวเซากัด)
- ในรายที่มีภาวะไตวายเฉียบพลัน (มักเกิดจากงูทะเล หรืองูแมวเซากัด) ต้องรักษาด้วยการฟอก ล้างของเสียหรือล้างไต (dialysis) โดยมากภาวะนี้จะเป็นอยู่นาน 2-10 วัน
(4) ในรายที่มีเพียงอาการเฉพาะที่ ยังไม่มี อาการทั่วไปเกิดขึ้น ไม่จำเป็นต้องให้เซรุ่มแก้พิษงู (ยกเว้นในรายที่มีแผลบวมเร็ว และบวมมากกว่าครึ่งหนึ่งของ แขนหรือขาที่ถูกกัด ควรให้เซรุ่มแก้พิษงูแบบเดียวกับในรายที่มีอาการทั่วไป) ควรให้การรักษาตามอาการ เช่น
- ให้ยาแก้ปวด ควรให้พาราเซตามอล โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเกิดจากงูที่มีพิษต่อเลือด กัด เพราะถ้าใช้แอสไพริน อาจทำให้เลือดออกง่ายขึ้นควรจัดให้แขนขนส่วนที่ถูกงูกัดให้อยู่ สูงกว่าระดับหัวใจ ช่วยลดอาการปวดและอาการบวมให้น้อยลงได้ เช่น ถ้าถูกกัดที่เท้าให้นอนราบและใช้หมอนรองเท้าให้สูงกว่าระดับหัวใจ ถ้าถูกกัดที่มือให้ใช้ผ้าคล้องมือไว้กับคอ เป็นต้น
- ควรเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด เป็นเวลาอย่างน้อย 12 ชั่วโมง เพื่อพ้น 12 ชั่วโมงไปแล้ว ยังไม่มีอาการทั่วไปเกิดขึ้น ก็แสดงว่าได้รับพิษไม่รุนแรง สามารถให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้
- ในรายที่ญาติเร่งเร้าของแดยา ให้ฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก (tetanus toxoid) เป็นการรักษาในเรื่องของบาดแผลไปในตัว
ง. การรักษาบาดแผล ให้การดูแลรักษาแบบ บาดแผลทั่วๆ ไป คือ
(1) ให้ยาป้องกันบาดทะยักเนื่องจากเคยมี รายงานผู้ป่วยถูกงูกัดที่ดูแลแผลไม่ถูกต้องจนกลายเป็นบาดทะยักมาแล้ว
(2) บาดแผลที่เกิดจากงูกัด บางครั้งอาจ กลายเป็นแผลเนื้อตาย (necrosis) เนื่องจากพิษงู(พบมากในงูกะปะ และงูเห่า) ถ้าแผลลุกลามเป็นวงกว่าน อาจ ต้องรักษาด้วยการปลูกถ่าย ผิวหนัง (skin graft)
การป้องกัน
การป้องกันอาจทำได้ดังนี้
1. ควรใส่รองเท้าบู๊ตหรือรองเท้าหุ้มข้อ เมื่อจะเข้าไปในป่า สวนยางพารา สวนผลไม้ หรือที่รก
2. เวลาเดินทางผ่านท้องนา หรือทุ่งหญ้าในเวลากลางคืน ควรใช้ไม้หวดนำไปก่อน เพื่อไล่ให้งูหนีไป
3. เวลานั่งตามโคนไม้หรือขอนไม้ ควรสังเกตให้ทั่วเสียก่อนว่าไม่มีงูอยู่
4. ไม่ควรกางกระโจมนอนใกล้ก้อนหินหรือกองไม้ ที่น่าสงสัยว่ามีงูอาศัยอยู่
5. ไม่ควรล้วงมือเข้าไปตามซอกหิน โพรงไม้หรือใต้แผ่นไม้ เพราะอาจมีงูซ่อนอยู่
Ambulance call
1669
Available 24 Hours
Are you five-star healthcare provider?
list your practice
to reach million of patient