การรักษา
1. ผู้ป่วยที่มีอาการเฉพาะที่ไม่รุนแรง
- อย่างใส ปิดทางตรงบริเวณที่ ถูกต่อยแล้วดึงออก (ไม่ควรใช้ปากคีบคีบออก อาจบีบให้เหล็กในขับพิษออกมากขึ้น) แล้วทำความสะอาดด้วย น้ำกับสบู่
- ใช้น้ำแข็งหรือน้ำเย็นประคบบริเวณที่ถูกต่อย นานครั้งละ 20 นาที ช่วยลดอาการปวดและบวมได้ ควรทำซ้ำทุกชั่วโมงจนกว่าอาการทุเลา
- ถ้าปวดมากให้กินพาราเซตามอล
- ถ้ามีอาการคันให้ยาแก้แพ้ เช่น คลอร์เฟนิรามีน ไดเฟนไฮดรามีน ครั้งละ ½-1 เม็ดทุก 6-8 ชั่วโมง และทาด้วยครีมสตีรอยด์
- ฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักในรายที่ไม่เคยได้หรือได้ไม่ครบหรือเคยฉีดเข็มสุดท้ายนานเกิน 5 ปี
- ให้ยาปฏิชีวนะ เช่น อะม็อกซีซิลลิน หรืออีริโทรไมซิน ถ้าแผลเป็นหนอง
- ผู้ป่วยที่เคยถูกแมลงพวกนี้กัดต่อยมาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเคยมีอาการแพ้ ควรให้ยาแก้แพ้ และเฝ้าสังเกตอย่างใกล้ชิด ถ้าเคยมีประวัติ การแพ้รุนแรงมาก่อน ควรส่งโรงพยาบาลด่วน
- แม้ว่าผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง หรือแผลที่ถูกต่อยทุเลาเป็นแกติแล้ว ก็ควรสังเกตดูอาการต่อไปอีกอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ถ้าพบมีอาการผิดปกติ เช่น ไข้ ผื่นคัน ข้ออักเสบ ซีด จุดแดงจ้ำเขียว บวม แขนขาชาหรืออ่อนแรง ตามัว เป็นต้น ควรส่งโรงพยาบาล เพราะอาจ เป็นปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่เกิดขึ้นช้าก็ได้
- ถ้าถูกแมลงต่อยในช่องปาก นอกจากให้ยาแก้แพ้แล้ว ควรสังเกตอาการบวมของเยื่อบุช่องปาก ถ้าพบว่ามีอาการปากคอ บวมพูดลำบาก หายใจลำบาก หรือ พบในเด็ก ควรส่งโรงพยาบาลด่วน
- ถ้าถูกแมลงต่อยที่ตา ควรส่งโรงพยาบาลเพื่อป้องกันและรักษาแผลกระจกตา
(2) ผู้ป่วยที่มีอาการแพ้หรือเกิดพิษรุนแรง เช่น มีลมพิษทั่วตัว มีอาการบวมคันที่บริเวณนอกรอยแผลที่ถูกต่อย (เช่น หนังตาบวม ริมฝีปากบวม) หายใจลำยาก หรือมีเสียงวี้ด มีภาวะช็อก (เป็นลม ไม่ค่อยรู้สึกตัว ชีพจรเบาและเร็ว ความดันเลือดต่ำ) ควรส่งโรงพยาบาลด่วน ก่อนส่งควรฉีดอะดรีนาลิน 0.3-0.5 มล. (เด็กให้ขนาด 0.01มล./กก.) เข้าใต้ผิวหนัง และฉีดไดเฟนไฮดรามีน 25-50 มาก (เด็กให้ขนาด 1 มก./กก.) เข้ากล้ามหรือเข้า หลอดเลือดดำ ถ้ามีเสียงวี้ด (wheezing) ให้ยากระตุ้น บีตา 2 สุด ถ้ามีภาวะช็อก ให้น้ำเกลือนอร์มัล ทางหลอดเลือดดำ ขณะเดียวกันก็รีบนำเหล็กในออกให้ได้มากที่สุด
การรักษา แพทย์จะให้การรักษาตามอาการ และความรุนแรงที่พบ เช่น ในรายที่เป็นลมพิษหรือ บวม คันทั้งตัว นอกจากฉีดยาแก้แพ้ และอะดรีนาลิน แล้วในรายที่ไม่ได้ผล อาจฉีดรานิทิดีน 50 มก.(เด็กให้ขนาด 0.5 มก./กก.) เข้าหลอดเลือดดำ
ในรายที่หายใจมีเสียงวี้ด นอกจากให้ยากระตุ้นบีตา 2 สูดแล้ว อาจฉีดเมทิลเพร็ดนิโซโลน 40-60 มก.(เด็กให้ขนาด 1 มก./กก.)
เข้าหลอดเลือดดำ หรือให้กินเพร็ดนิโซโลน 60 มก.(เด็กให้ขนาด 0.5-1 มก./กก.)
ในรายที่มีภาวะช็อกทั้งที่เกิดจากภาวะแพ้ (anaphylaxis) หรือภาวะพิษ (anaphylactoid) ก็ให้การรักษาแบบภาวะช็อกจากการแพ้ได้แก่ ฉีดอะดรีนาลิน ยาแก้แพ้ รานิทิดีน และสตีรอยด์ ให้น้ำเกลือนอร์มัล หรืองริงเกอร์แล็กเทต รวมทั้งให้โดพามีน
ผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการแพ้ เมื่อรักษาจน ดีขึ้นแล้ว หลังหยุดยา อาจมีอาการกำเริบซ้ำได้อีก จึงควร สังเกตอาการในโรงพยาบาลอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
ในรายที่มีอาการหายใจลำบาก แพทย์อาจใส่ท่อหายใจหรือทำการเจาะคอช่วยหายใจ
(3) ผู้ป่วยที่ถูกผึ้งหรือต่อรุมต่อยจำนวนมาก ควรส่งโรงพยาบาลด่วน ก่อนส่งให้การดูแลแบบมีอาการเฉพาะที่ และถ้ามีภาวะช็อกก็ให้ฉีดอะดรีนาลิน ฉีดไดเฟนไฮดรามีน และให้น้ำเกลือนอร์มัล
การรักษา ในรายที่ยังไม่มีอาการแสดง แพทย์ จะรับผู้ป่วยไว้สังเกตอาการในโรงพยาบาลอย่างน้อย 48 ชั่วโมง ทำการตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือดดูค่าอิเล็กโทรไลต์และการทำงานของไต (ตรวจค่าครีอะตินีน และบียูเอ็น) และให้การรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น เช่น รักษา ภาวะช็อก ทำการฟอกล้างของเสียหรือล้างไต (dialysis)ในผู้ป่วยที่มีภาวะไตวาย เป็นต้น
การป้องกัน
1. กำจัดขยะและเศษอาหารในบริเวณบ้าน เพื่อไม่ให้มีแมลงพวกนี้มาตอม
2. ในกรณีที่ต้องเดินทางเข้าไปในที่ ๆ มีแมลงพวกนี้ชุกชุม หรือออกไปกลางแจ้ง ไมควรใส่เสื้อผ้าสีฉูดฉาดลายดอกไม้หรือใส่น้ำหอม ซึ่งเป็นสิ่งล่อให้ผึ้งหรือต่อบินมาต่อมได้
3. อย่าแหย่หรือทำลายรังต่อรังผึ้ง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรเตือนเด็ก ๆ อย่ากระทำดังกล่าว) การจำกัด รังต่อรังผึ้งควรใช้ผู้ที่ ได้รับการฝึกฝนมาโดยเฉพาะ
4. ถูกแมลงโดยเฉพาะต่อต่อยควรวิ่งหนีโดย เร็วที่สุด ให้ห่างจากรังเกิน 7 เมตร ซึ่งต่อมักจะไม่ตามไปไม่ให้ต่อติดอยู่ในผม ซึ่งจะต่อยซ้ำ ๆได้
Ambulance call
1669
Available 24 Hours
Are you five-star healthcare provider?
list your practice
to reach million of patient