ข้อแนะนำ
1. ไข้เลือดออกมักแยกออกจากไข้หวัด ได้โดยที่ไข้เลือดออกไม่มีอาการคัดจมูกน้ำมูกไหล อาจมีไข้สูง หน้าแดง ตาแดง หรือมีผื่นขึ้นคล้ายหัด แต่แยกจากหัด โดยหัดจะมีน้ำมูกและไอมาก และตรวจพบจุดค็อปลิก
นอกจากนี้อาการไข้สูงโดยไม่มีน้ำมูก ยังอาจ ทำให้ดูคล้ายไข้ผื่นกุหลาบในทารก ไข้หวัดใหญ่ ไทฟอยด์ มาลาเรีย ตับอักเสบจากไวรัส ระยะแรก เล็ปโตสไปโรซิส เป็นต้น
ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี อาจมาด้วยอาการไข้สูงร่วมกับซักก็ได้
ดั้งนั้นในช่วงฤดูฝนหรือในช่วงที่มีการระบาดของไข้เลือดออก ถ้าพบผู้ที่มีอาการไข้สูงเฉียบพลันไม่ว่าเด็กเล็กหรือผู้ใหญ่ ควรทำการทดสอบทูร์นิเคต์ หรือ ตรวจพิเศษเพิ่มเติม เพื่อพิสูจน์ไข้เลือดออกทุกราย
2. ไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัส จึงไม่มียาที่ใช้ รักษาโดยเฉพาะ
ประมาณร้อยละ 70-80 ของผู้ ที่เป็นไข้เลือดออกจะมีอาการเพียงเล็กน้อยและหายได้เองภายในประมาณ 7-14 วัน เพียงแต่ให้การรักษาตามอาการและให้ดื่มน้ำให้มากๆ เพื่อป้องกันภาวะช็อกก็เพียงพอไม่ ต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาลไม่ต้องฉีดยาให้น้ำเกลือ หรือให้ยาพิเศษแต่อ่างใด รวมทั้งไม่ต้องให้ยาปฏิชีวนะ และสตีรอยด์
ประมาณร้อยละ 20-30 ที่อาจมีภาวะช็อกหรือ เลือดออก ซึ่งก็มีทางรักษาให้หายได้ด้วยการให้น้ำเกลือ หรือให้เลือด มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นอาจรุนแรงมากจน เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะถ้าพบในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี อาจมีอัตราตายสูงกว่าเด็กอายุกลุ่มอื่นๆ
3. ระยะวิกฤติของโรคนี้คือวันที่ 3-7 ของไข้ ซึ่ง ผู้ป่วยอาจมีภาวะช็อกหรือเลือดออกได้ ดังนั้นจึงควรเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดถ้าพ้นระยะนี้ไปได้ ก็ถือว่าปลอดภัย
ควรบอกให้ญาติสังเกตอาการที่เป็นสัญญาณ อันตรายดังต่อไปนี้
- ปวดท้องตรงยอดอกหรือลิ้นปี่
- อาเจียนมาก
- มือเท้าเย็นชืด มีเหงื่อออกและท่าทางไม่สบายมาก
- หายใจหอบและเขียว
- มีจ้ำเลือดตามตัวหลายแห่งมีเลือดออก เช่น เลือดกำเดาไหล อาเจียน เป็นเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด เป็นต้น
ถ้าพบอาการดังกล่าวเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งควรพาไปโรงพยาบาลโดยเร็ว
4. ผู้ที่เป็นไข้เลือดออก ในระยะแรก ถ้ามีอาการปวดท้อง อาเจียนมาก หรือเบื่ออาหาร (ดื่มน้ำได้น้อย) อาจมีภาวะช็อกตามมาได้ ดังนั้นถ้าพบอาการเหล่านี้ ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ ควรพยายามให้ดื่มน้ำให้มากๆ ถ้าดื่มไม่ได้ควรแนะนำไปโรงพยาบาล อาจต้องให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ และเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด
5. เนื่องจากเชื้อไข้เลือดออกมีอยู่หลายชนิด ดังนั้น คนเราจึงอาจติดเชื้อไข้เลือดออกได้หลายครั้ง แต่ส่วน มากจะมีอาการไข้คล้ายไข้หวัด แล้วหายได้เอง ส่วนน้อยที่อาจเป็นรุนแรงถึงช็อก และแต่ละคนจะมีโอกาส เป็นไข้เลือดออกชนิดรุนแรงถึงช็อก และแต่ละคนจะมีโอกาส เป็นไข้เลือดออกชนิดรุนแรงเพียงครั้งเดียว (หรืออย่าง มากไม่ควรเกิน 2 ครั้งในชั่วชีวิต) ที่จะเป็นรุนแรงซ้ำ ๆ กันหลายครั้งนั้นนับว่ามีน้อยมาก
6. ผู้ที่เป็นไข้เลือดออก สามารถให้พาราเซตามอล เพื่อลดไข้ได้ แต่ควรแยกแยะอาการตัวเย็นจากยาลดไข้ให้ออกจากภาวะช็อกกล่าวคือ ถ้าตัวเย็นเนื่องจากยา ลดไข้ผู้ป่วยจะดูสบายดีและหน้าตาแจ่มใส แต่ถ้าตัวเย็น จากภาวะช็อก ผู้ป่วยจะซึมหรือกระสับกระส่าย
อย่างไรก็ตาม ควรย้ำให้ผู้ป่วยและญาติทราบว่าการใช้ยาลดไข้ อาจไม่ทำให้ไข้ลด ถ้าไม่ลด ก็ให้เช็ดตัว ด้วยน้ำเย็น อย่าให้พาราเซตามอลเกินขนาดที่กำหนด ถ้าให้มากไปหรือถี่เกินไป อาจมีพิษต่อตับถึงขั้นอันตรายได้และอย่าหันไปใช้ยาลดไข้ชนิดอื่นๆ เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน หรือยี่ห้ออื่นๆ ที่ไม่ใช่ประกอบด้วยยาพาราเซตามอลล้วนๆ (โดยอ่านดูฉลากยาให้แน่ใจ) เพราะยาแก้ไข้อื่น ๆ อาจมีอันตรายต่อผู้ป่วยไข้เลือดออกได้
7. ในรายที่จำเป็นต้องให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ ควรให้ด้วยความระมัดระวัง อย่าให้น้อยไปหรือมากไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีภาวะวิกฤติประมาณ 24-48 ชั่วโมง จำเป็นต้องตรวจวัดระดับฮีมาโทคริต อย่างใกล้ชิด และปรับปริมาณและความเร็วของน้ำเกลือที่ให้ตามความรุนแรงของผู้ป่วย ต้องระวังการให้น้ำเกลือมากหรือเร็วเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะปอดบวมน้ำ เป็นอันตรายได้
การรักษา
1. ถ้าอาการไม่รุนแรง (มีอาการในขั้นที่ 1) คือเพียงแต่มีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร โดยยังไม่มี อาการเลือดออกหรือมีภาวะช็อก ควรให้การรักษาตามอาการ ดังนี้
- หากมีไข้สูง ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวบ่อย ๆ และให้ยาลดไข้-พาราเซตามอล คำนวณขนาดตาม น้ำหนักตัวหรือตามอายุ ให้ได้ไม่เกิน 4 ครั้ง ใน 24 ชั่วโมง ห้ามให้แอสไพรินเพราะอาจทำให้มีเลือดออกได้ง่ายขึ้น หรืออาจทำให้เกิดโรคเรย์ซินโดรมได้
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ให้ยาลดไข้ บางครั้งไข้ ก็อาจจะไม่ลดก็ให้ได้ ระวังอย่าให้พาราเชตามอลถี่กว่า กำหนดอาจมีพิษต่อตับได้
- ให้อาหารอ่อนๆ เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก นม น้ำหวาน
- ให้ดื่มน้ำมากๆ จนปัสสาวะออกมากและใสอาจเป็นน้ำเปล่า น้ำผลไม้ น้ำอัดลม (ควรเขย่าฟองออกก่อน)หรือละลาย น้ำตาล เกลือแร่
- ควรเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด อาจต้อง นัดผู้ป่วยมาตรวจดูอาการทุกวัน ควรจับชีพจร วัดความดัน และตรวจดูอาการเลือดออก รวมทั้งการทดสอบ ทูร์นิเคต์ ถ้าวันแรกๆ ให้ผลลบ ก็ต้องทำซ้ำในวันต่อๆ มา
เมื่อพ้น 1 สัปดาห์ ผู้ป่วยก็มักจะทุเลา และฟื้นตัวได้ หากมีเลือดออกหรือสงสัยเริ่มมีภาวะช็อก ควรส่งโรงพยาบาลด่วน
2. ถ้าผู้ป่วยอาเจียนมากหรือมีภาวะขาดน้ำ ควรส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว ควรให้น้ำเกลือชนิด 5% D/

NSS หรือ5% D/Ringer acetate ประมาณ 6-10 มล./กก./ ชั่วโมง ไประหว่างทางด้วย ผู้ป่วยอาจต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แพทย์จะทำการเจาะเลือดตรวจวัดระดับฮีมาโทคริต นับจำนวนเม็ดเลือดขาวและจำนวนเกล็ดเลือด (พบว่าต่ำกว่าปกติทั้งคู่) เพื่อประเมินความรุนแรง เป็นระยะๆ พร้อมทั้งในน้ำเกลือเป็นระยะเวลา 24-48 ชั่วโมง (ปริมาณน้ำเกลือคำนวณตามน้ำหนักตัว และปรับลดปริมาณและความเร็ว ตามระดับฮีมาโทคริตที่ตรวจพบโดยทั่วไป ปริมาณน้ำเกลือที่ควรได้รับใน 24 ชั่วโมง สำหรับน้ำหนักตัว 10, 15, 20, 25, 30, 35, 40, 45, 50, 55 และ 60 กก.ประมาณ 1,500, 2,000, ,500, 2,800,3,200, 3,500, 3,800, 4,000, 4,200, 4,400, และ 4,600มล ตามลำดับ)
3. ถ้าผู้ป่วยมีภาวะช็อกหรือเลือดออก (ขั้นที่ 3 และ 4) ควรส่งโรงพยาบาลด่วนโดยให้ 5% D/NSS หรือ 5% D/Ringer ประมาณ 10-20 มล./กก./ชั่วโมง ไประหว่างทางด้วย
แพทย์จะทำการวินิจฉัยด้วยการเจาะเลือดตรวจฮีมาโทคริต เพื่อดูความเข้มข้นของเลือดเป็นระยะๆ ถ้าเลือดข้นมากไป เช่น ฮีมาโทคริตมีค่ามากกว่า 50% ขึ้นไปก็แสดงว่าปริมาตรของเลือดลดน้อย ซึ่งเป็นสาเหตุ ของภาวะช็อกได้ ควรให้น้ำเกลือจนกว่าความเข้มข้นของเลือดกลับลงเป็นปกติ (ฮีมาโทคริตประมาณ 40-45%)
นอกจากนี้ อาจต้องตรวจนับจำนวนเกล็ดเลือด เริ่มต่ำประมาณวันที่ 3-4 ของไข้ โรคยิ่งรุนแรงเกล็ด เลือดจะยิ่งต่ำ) ตรวจอิเล็กโทรไลต์ในเลือด ตรวจการทำงานของตับ มักพบ AST และ ALT สูง ตรวจภาวะการแข็งตัวของเลือด (congulation study) ตรวจปัสสาวะเอกซเรย์ปอด
เป็นต้น
ในรายที่ยังวินิจฉัยไม่ได้แน่ชัด อาจต้องทำ การทดสอบทางน้ำเหลือง เพื่อดูสารภูมิต้านทานต่อเชื้อไข้เลือดออกโดยวิธี (สามารถทราบผลจากการตรวจเพียงครั้งเดียว) หรือวิธี hemagglutination inhibition (HI ซึ่งต้องตรวจ 2 ครั้ง ห่างกัน 2 สัปดาห์) โรงพยาบาลบางแห่งอาจทำการตรวจหาเชื้อในเลือดหรือปัสสาวะโดยวิธี PCR หรือการแยกเชื้อในเซลล์เพาะเลี้ยง
การรักษา ให้น้ำเกลือรักษาภาวะช็อก ถ้าจำเป็น อาจให้พลาสมาหรือสารแทนพลาสมา (เช่น แอลบูมิน หรือเดกซ์แทรน) และให้เลือดถ้ามีเลือดออก
การป้องกัน
1.ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น
- ปิดฝาโอ่งน้ำ และล้างโอ่งน้ำทุก 10 วัน
- เปลี่ยนน้ำในแจกันทุก 10 วัน สำหรับแจกันพลูด่าง ต้องใช้น้ำชะล้างไข่หรือลูกน้ำที่เกาะติดตามราก
- จานรองตู้กำข้าว ควรใส่น้ำเดือดลงไปทุก10 วัน หรือใส่เกลือแกงในน้ำที่อยู่ในจานรองตู้ ขนาด 2 ช้อนชา/น้ำ 1 แก้ว
- ควรเก็บกระป๋อง กะลา ยางรถยนต์เก่าๆ หรือสิ่งที่จะเป็นที่ขังน้ำ ซึ่งอยู่ในบริเวณบ้านโรงเรียนและแหล่งชุมชน ทำลายหรือฝังดินให้หมด
- ปรับพื้นบ้านและสนามอย่าให้เป็นหลุมเป็นบ่อที่มีน้ำขังได้
- วิธีที่สะดวก คือใส่ทรายอะเบต (abate) ชนิด 1% ลงในตุ่มน้ำและภาชนะกักเก็บน้ำทุกชนิดในอัตราส่วน10 กรัม /น้ำ 100 ลิตร (ตุ่มมังกรขนาด 8 ปีบใช้อะเบต 2 ช้อนชา ตุ่มซีเมนต์ขนาด 12 ปีบใช้อะเบต 2.5 ช้อนชา) ควรเติมใหม่ทุก 2-3 เดือน น้ำที่ใส่ทราย อะเบตสามารถใช้ดื่มกินได้อย่างปลอดภัย
2. ให้สุขศึกษาแก่ประชาชนเมื่อเข้าใกล้ฤดูฝน และทำการรณรงค์ให้มีการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง พร้อมๆ กันทั้งในบ้าน โรงเรียน และแหล่งชุมชน จึงจะได้ผลต่อการควบคุมยุงลาย
3. หาวิธีป้องกันอย่าให้ยุงลายกัด ทั้งในเวลากลาง วันและกลางคืน
Ambulance call
1669
Available 24 Hours
Are you five-star healthcare provider?
list your practice
to reach million of patient