อาการ
โรคนี้มีอาการแสดงได้หลายลักษณะ
1. ถ้าเป็นแบบเฉียบพลัน มักจะมีไข้สูง หนาวสั่นเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน คล้ายโรคติดเชื้ออื่นๆ (เช่น) มาลาเรีย ไทฟอยด์ สครับไทฟัส เล็ปโตสไปโรซิส) และ มักมีอาการของปอดอักเสบ หรือเป็นฝีกระจายไปทั่วปอด คล้ายการติดเชื้อ สเตฟีโลค็อกคัสออเรียส (มีอาการไอ เจ็บหน้าอก หายใจหอบ) บางรายอาจมีการติดเชื้อของ ตับ (ปวดซ้ายโครงขวา ตับโต ดีซ่าน) ม้าม (ปวดชายโครงซ้าย ม้ามโต) ไต (เป็นฝี) ผิวหนัง (ขึ้นเป็นตุ่มนูน ตุ่มหนอง เป็นผี เป็นต้น) หรืออวัยวะอื่นๆ ร่วมด้วย
ในรายที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดแบบ แพร่กระจาย มักมีการอักเสบของอวัยวะหลายแห่งพร้อมกัน อาการจะเป็นมากขึ้นรวดเร็วภายใน 2-3 วัน จนเกิด ภาวะช็อกจากโลหิตเป็นพิษ และเสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมง
ในรายที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดแบบไม่แพร่กระจาย มักจะมีอาการไข้ และอาจมีการติดเชื้อ ของปอดและอวัยวะอื่นร่วมด้วยเพียง 1-2 แห่ง บางราย อาจไม่พบตำแหน่งติดเชื้อชัดเจน อาการมักจะไม่รุนแรง และมีการเปลี่ยนแปลงช้า โอกาสที่เกิดภาวะช็อกค่อนข้างต่ำ และมีอัตราตายต่ำ แต่บางรายอาจกลายเป็นการติด เชื้อในกระแสเลือดแบบแพร่กระจายในเวลาต่อมาก็ได้
2. ในรายที่มีการติดเชื้อเฉพาะที่ มักจะมีอาการ ค่อยเป็นค่อยไปเรื้อรัง เป็นแรมเดือนแรมปี ผู้ป่วยอาจ ไม่ไข้ต่ำหรือไม่มีไข้ก็ได้ มักมีอาการน้ำหนักลด และมี อาการแสดงตามความผิดปกติของอวัยวะที่ติดเชื้อ (อาจ เกิดเพียง 1 แห่ง หรือพร้อมกันหลายแห่ง) เช่น
- ปอด มีอาการไอเรื้อรัง น้ำหนักลด คล้ายวัณโรคปอด หรือมะเร็งปอด
- ต่อมน้ำเหลืองที่ข้างคอ มีอาการต่อมน้ำเหลือง ข้างคอโตเรื้อรัง (อาจมีอาการปวดและแดงร้อนหรือไม่ก็ได้) คล้ายวัณโรคต่อมน้ำเหลือง หรือมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- ผิวหนัง มีรอยโรคได้หลายแบบ อาจเริ่มด้วย ก้อนนูนขนาด 1-2 ซม.อาจมีอาการเจ็บ แต่ไม่มีอาการแดงร้อน(ทำให้ไม่คิดถึงการอักเสบ) หรืออาจมีอาการ ของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังชั้นลึกอักเสบ การติดเชื้อ ของบาดแผลที่เกิดจากอุบัติเหตุหรือแผลอักเสบ หรือเป็นฝี แล้วแตกออกเป็นแผล (อาจกลายเป็นแผลเรื้อรังเป็นสัปดาห์ๆ ถึง 10 ปี) รอยโรคที่ผิวหนังอาจเกิดขึ้นพร้อมกันหลายแห่ง และเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของผิวกาย บางรายอาจมีภาวะโลหิตเป็นพิษแทรกซ้อนได้
- ตับ เป็นฝี เป็นก้อนบวมคลำได้ที่ใต้ชายโครงขวา
- ม้าม เป็นฝี เป็นก้อนบวมคล้ำได้ที่ใต้ชายโครงซ้าย
- คอหอยและทอนซิล มีอาการไข้ เจ็บคอ ทอนซิลบวมไต เป็นหนองแบบทอนซิลอักเสบ อาจมีประวัติว่าได้ยารักษาทอนซิลอักเสบมา 1-2 สัปดาห์แล้วยังไม่ดีขึ้น
- กล้ามเนื้อและกระดูก พบกล้ามเนื้ออักเสบ เป็นหนอง (pyomyositis) กระดูกอักเสบเป็นหนอง (osteomyelitis) ข้ออักเสบ (ข้อบวมแดงร้อน)
- ทางเดินปัสสาวะ พบทางเดินปัสสาวะอักเสบฝีไต ฝีรอบไต (perirenal abscess)
- อื่นๆ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (66) ฝีสมอง (82) ก้านสมองอักเสบ (brain stem encephalitis) ฝีลำไส้ เยื่อบุช่องท้องอักเสบ ฝีต่อมหมวกไต ฝีตับอ่อน เป็นต้น
ในเด็ก (อายุต่ำกว่า 14 ปี) มักจะพบต่อมน้ำลายข้างหู (พาโรติด) อักเสบเป็นหนอง (suppurative paro titis) ซึ่งไม่พบใน ผู้ใหญ่ มักเป็นเพียงข้างเดียว โดยมี อาการไข้ ปวดบวมบริเวณหน้าหูคล้ายคางทูม ก้อนจะบวมแดงมากขึ้นใน 1-2 สัปดาห์ และอาจมีตุ่มหนอง ขึ้นที่ผิวหนังบริเวณที่บวม หนองไหลออกจากหูข้าง เดียวกัน หรือมีหนังตาอักเสบ (periorbital cellulitis) ร่วมด้วย บางรายอาจมีการติดเชื้อในกระแสเลือดร่วมด้วย ซึ่งอาจรุนแรงถึงตายได้
โดยทั่วไป การติดเชื้อเฉพาะที่มักไม่รุนแรง มักไม่เกิดภาวะช็อก และอัตราตายต่ำ แต่บางรายปล่อยไว้ไม่รักษา อาจมีการ ติดเชื้อเข้ากระแสเลือดแบบแพร่กระจาย เกิดภาวะช็อก เป็นอันตรายได้
การรักษา
หากสงสัย เช่น มีไข้เกิน 7 วัน ไข้ร่วมกับหายใจหอบ มีภาวะโลหิตเป็นพิษ ตับโต ม้ามโต ม้ามโต มีการติดเชื้อ ขอวอวัยวะต่างๆ (เช่น ผิวหนัง ต่อมน้ำลายข้างคอ ทอนซิล กล้ามเนื้อ กระดูก เป็นต้น) ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา หรือเป็นเรื้อรัง เป็นต้น ควรส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว
แพทย์จะทำการวินิจฉัยโดยการตรวจพบเชื้อโดย การย้อมหรือเพาะเชื้อจากเลือดหรือสิ่งคัดหลั่ง (เสมหะ ปัสสาวะ หนองจากผิวหนังหรือฝีของอวัยวะต่างๆ) อาจทำการทดสอบทางน้ำเหลือง (เช่นindirect hemagglu tination test, ELISA) ทำการเอกซเรย์ปอด ตรวจ อัลตราซาวนด์ท้อง (ดูฝีในตับ ม้าม ไต) เจาะหลัง (ในรายที่สงสัยมีการติดเชื้อของสมอง) ตรวจเลือดดูการทำงานของตับและไต (AST, ALT, BUN, creatinine) ตรวจปัสสาวะ (ดูการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ) เป็นต้น
ในราที่มีอาการรุนแรงได้แก่ ผู้ป่วยที่มีการติด เชื้อในกระแสเลือด (โลหิตเป็นพิษ) ที่อยู่ในพื้นที่ระบาด (ภาคอีสาน) และมีประวัติเป็นเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง ดื่มแอลกอฮอล์จัด หรือใช้สตีรอยด์มานาน แพทย์อาจ พิจารณาให้การรักษาแบบเมลิออยโดซิสไปก่อนเลย
การรักษา ในรายที่เป็นรุนแรง แพทย์จะรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล ให้การดูแลตามอาการ เช่น ยา ลดไข้ ให้สารน้ำและเกลือแร่ ออกซิเจน ใช้เครื่องช่วยหายใจ ผ่าระบายหนอง เป็นต้น
ที่สำคัญ คือ ต้องให้ยาปฏิชีวนะได้แก่ เซฟทาซิไดม์ (ceftazidime) 2 กรัม กรัมเข้าหลอดเลือดดำ ทุก 8 ชั่วโมง (เด็กให้ขนาด 120 มก./กก./วัน แบ่งให้ทุก 8 ชั่วโมง) อาจให้เพียงชนิดเดียว หรือให้ร่วมกับโคไตรม็อกซาโซล เข้าหลอดเลือดดำ นาน 10-14 วัน บางกรณีอาจให้โคอะม็อกซิคลาฟ หรือปฏิชีวนะชนิดอื่นแทน
เมื่อดีขึ้น จะให้ยาปฏิชีวนะชนิดกิน แบบเดียวกับที่ใช้รักษาผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงต่อไปอีก 20 สัปดาห์
ในรายที่อาการไม่รุนแรงหรือเป็นเรื้อรัง จะให้ยาปฏิชีวนะชนิดกิน สูตรใดสูตรหนึ่งดังต่อไปนี้
- โคไตรม็อกซาโซล 2 เม็ด วันละ 2 ครั้ง (เด็กให้ขนาดของไตรเมโทพริม 8 -10 มก./กก./วัน แบ่งให้วันละ 2 ครั้ง (เด็กอายุมากกว่า 8 ปี ให้ขนาด 4 มก./วัน
- แบ่งให้วันละ 2 ครั้ง) ในหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เด็กอายุต่ำกว่า 8 ปี หรือแพ้ยาข้างบน ให้โคอะม็อกซิคลาฟ (อะม็อกซีซิลลิน 250 มก. + กรดคลาวูลานิก 125 มก.) 2 เม็ด วันละ 3 ครั้ง) เด็กให้ขนาดของอะม็อกซีซิลลิน 30 มก./ กก./วัน.แบ่งให้วันละ 3 ครั้ง) ร่วมกับอะม็อกซีซิลลิน 500 มก. วันละ 3 ครั้ง (เด็กให้ขนาด 30 มก./กก./วัน แบ่งให้วันละ 3 ครั้ง)
เมื่ออาการดีขึ้น (มักใช้เวลาประมาณ 10 วันหลังจากเริ่มให้ยา) ควรให้กินติดต่อกันนาน 20 สัปดาห์
ผลการรักษา ขึ้นกับความรุนแรงของโรค ถ้ามีอาการรุนแรงและเพาะเชื้อจากเลือดให้ผลบวก (ภาวะโลหิตเป็นพิษ) มีอัตราตาย
ร้อยละ 40-75
ถ้ามีการติดเชื้อหลายแห่ง แต่เพาะเชื้อจากเลือด ให้ผลลบ มีอัตราตายประมาณร้อยละ 20
ถ้ามีการติดเชื้อเฉพาะที่เพียง 1 แห่ง มีอัตราตายต่ำ ส่วนใหญ่มักจะหายเป็นปกติ
ผู้ป่วยต้องกินยานาน 20 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการกลับกำเริบใหม่ พบว่าถ้าให้ยาน้อยกว่า 8 สัปดาห์ มี อัตราการกลับกำเริบใหม่ร้อยละ ร้อยละ 23 และผู้ป่วยกลุ่มนี้มีอัตราตายประมาณร้อยละ 27
Ambulance call
1669
Available 24 Hours
Are you five-star healthcare provider?
list your practice
to reach million of patient