แอนแทรกซ์ (Anthrax)
แอนแทรกซ์ (anthrax) เป็นโรคติดเชื้อร้ายแรงที่เกิดในสัตว์เลี้ยง (เช่นโค กระบือ ม้า อูฐ แพะ แกะ) ซึ่งสามารถติดต่อมาสู่คนได้ แต่จะไม่ติดจากคนสู่คนด้วยกัน
โรคนี้พบได้ประปราย ซึ่งมักพบในกลุ่มคนที่ทำ งานเกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยง (เช่น คนงานในโรงเลี้ยงสัตว์โรงงานฟอกหนังหรือทำขนสัตว์ สัตว์แพทย์ สัตว์บาล) หรือบริโภคเนื้อสัตว์ดิบๆ
ในบ้านเรามีรายงานผู้ป่วยเป็นครั้งคราว เคยมีรายงานการระบาดหมู่จากการบริโภคเนื้อกระบือเมื่อปี พ.ศ. 2525 (ป่วยเป็นแอนแทรกซ์คอหอย 24 ราย ตาย 3 ราย และในช่วงเดียวกันพบแอนแทรกซ์ผิวหนัง 52 ราย)
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า บาซิลลัส-แอนทราซิส (Bacillus anthracis) เชื้อโรคมีลักษณะ สปอร์พบอยู่ตามดินทรายมีความทนทานอยู่ในสภาพ แวดล้อมได้นานนับสิบปี และมีแมลงวันและนกแร้งเป็น ตัวนำเชื้อไปแพร่กระจาย คนเราสามารถติดเชื้อเข้าสู่ร่างกายได้3ทางได้แก่
- ทางผิวหนัง โดยการสัมผัสถูกสปอร์ (ตามดินทราย หนังสัตว์ ขนสัตว์) โดยตรง เชื้อจะผ่านเข้าทาง บาดแผล หรือรอยถลอกบนผิวหนัง
- ทางปากโดยการกินเนื้อสัตว์ที่ติดเชื้อโดยไม่ได้ปรุงให้สุก
- ทางเดินหายใจ โดยการสูดเอาสปอร์เข้าไปในปอด มักพบในคนงานในโรงฟอกหนัง ทำขนสัตว์หรือหนังสัตว์
เมื่อสปอร์เข้าสู่ร่างกายก็จะมีการงอกเจริญเติบโตและปล่อยสารพิษหลายชนิดออกมาทำลายเนื้อเยื้อต่างๆเกิดอาการอักเสบ บวม เป็นแผล เนื้อตาย เลือดออก
ระยะฟักตัว 1-6 วัน (ถ้าเกิดจากการสูดเข้าทาง เดินหายใจ อาจนานถึง 6 สัปดาห์)
การรักษา
หากสงสัย เช่น มีตุ่มน้ำหรือรอยสะเก็ดแผลไหม้ที่ ผิวหนัง มีไข้คล้ายไข้หวัดใหญ่ หรือมีอาการปวดท้อง อาเจียน ท้องเดิน คล้ายอาหารเป็นพิษ และมีประวัติ สัมผัสสัตว์เลี้ยง ขนสัตว์ หนังสัตว์ หรือบริโภคเนื้อสัตว์ ที่ไม่ได้ปรุงให้สุก ควรส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว
แพทย์จะวินิจฉัยจากลักษณะอาการ ร่วมกับการ ตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น ย้อมเชื้อจากแผล เสมหะหรือ อุจจาระ เพาะเชื้อจากเลือดหรือเสมหะ พิสูจน์ชิ้นเนื้อ ผิวหนัง (skin biopsy) ทดสอบทางน้ำเหลืองเพื่อหาระดับสารภูมิต้านทาน เอกซเรย์ปอด (บางรายอาจต้องตรวจ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์) รวมทั้งทำการเจาะหลังเพื่อตรวจ น้ำไขสันหลัง และใช้เครื่องส่องตรวจกระเพาะลำไส้
การรักษา มักจะต้องรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล นอกจากการรักษาตามอาการ (เช่น ยาลดไข้ ให้เลือด ให้สารน้ำเกลือแร่ ให้ออกซิเจน เป็นต้น) แล้วที่สำคัญ คือการให้ยาปฏิชีวนะกำจัดเชื้อได้แก่ ไซโพรฟล็อกซาซิน หรือดอกซีไซคลีน ร่วมกับคลินดาไมซิน และ/หรือไรแฟมพิซิน โดยให้ทางหลอดเลือดดำ เมื่อดีขึ้นจึงเปลี่ยนไปใช้ยาชนิดกินนาน 60 วันผลการรักษา ถ้าได้รับยาปฏิชีวนะตั้งแต่ก่อนมี อากร (สำหรับผู้สัมผัสโรค) หรือระยะแรกเริ่มของการ แสดงอาการ หรือเป็นแอนแทรกซ์ผิวหนัง ก็มักจะได้ผลดี และหายได้เป็นส่วนใหญ่ แต่ถ้าให้การรักษาช้าเกินไป หรือในรายที่เป็นแอนแทรกซ์ปอดก็มักจะได้ผลไม่ดี และยังมีโอกาสเสียชีวิตได้ (แทนแทกรซ์ปอดถึงแม้จะได้ รับการรักษาก็ยังมีอัตราตายสูงถึงร้อยละ75) ส่วนผู้ป่วย ที่มีเยื่อหุ้มสมองอักเสบแทรกซ้อนมักจะตายเกือบทุกคน
การป้องกัน
1. ดำเนินมาตรการป้องกันและควบคุมโรคแอนแทรกซ์ในสัตว์เลี้ยงอย่างเคร่งครัดและทั่วถึง
2. หลีกเลียงกาสัมผัสกับสัตว์เลี้ยงที่ติดเชื้อหรือ เป็นโรคแอนแทรกซ์
3. ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ที่ไม่ได้ปรุงให้สุก
4. ผู้สัมผัสเชื้อ (กินเนื้อสัตว์ที่เป็นโรค สูดสปอร์แอนแทรกซ์เข้าปอด หรือสัมผัสถูกสัตว์ป่วยโดยตรง) ควรให้ยาป้องกันกินทันที (ก่อนมีอาการ) และกินติดต่อ กันนาน 60 วัน โดยเลือกใช้ชนิดใดชนิดหนึ่งดังนี้
- ไซโพรฟล็อกซาซิน 500 มก.วันละ2 ครั้ง
- ดอกซีไซคลีน 100 มก.วัน 2 ครั้ง
- สำหรับเด็กและหญิงตั้งครรภ์ให้อะม็อกซีซิลลิน 500 มก. ทุก 8 ชั่วโมง (เด็กให้ขนาด 80 มก./กก./วัน แบ่ง ให้วันละ 3 ครั้ง)
5. วัคซีนป้องกันแอนแทรกซ์ ไม่แนะนำฉีดให้ แก่คนทั่วไป แต่จะฉีดให้แก่กลุ่มคนที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อแอทนแทรกซ์ เช่น ทหาร (เสี่ยงต่อการถูกโจมตีด้วยเชื้อแอนแทรกซ์) ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยงในพื้นที่ ระบาด ผู้ที่ทำงานเกี่ยงข้องกับหนังสัตว์หรือขนสัตว์ที่นำมาจากพื้นที่ที่มีการระบาด เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับเชื้อชนิดนี้
Ambulance call
1669
Available 24 Hours
Are you five-star healthcare provider?
list your practice
to reach million of patient