การรักษา
1. ในรายที่อาการไม่รุนแรง ไม่มีภาวะขาดน้ำรุนแรง และยังกินอาหารหรือดื่มน้ำได้ดี ให้การรักษาแบบอาการท้องเดินหรืออาหารเป็นพิษทั่วไป คือ ให้กินสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ เก็บอุจจาระส่งเพาะเชื้อ เมื่อทราบผลการตรวจว่าเป็นโรคนี้ หรือสงสัยว่าอาจเป็นโรคนี้ เช่น เป็นผู้สัมผัสผู้ป่วยอหิวาต์ หรืออยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค ควรให้ยาปฏิชีวนะกำจัดเชื้ออหิวาต์
โดยทั่วไปอาการมักดีขึ้นภายใน 1-5 วัน ถ้าดูแล 2-3 วันแล้วอาการไม่ทุเลา หรือเป็นรุนแรงขึ้นเช่น อาเจียนบ่อย กินไม่ได้ หรือมีภาวะขาดน้ำมากขึ้นควรให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ แล้วส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว
2. ในรายที่เป็นรุนแรง เช่น ถ่ายเป็นน้ำรุนแรงอาเจียนรุนแรง กินไม่ได้ หรือมีภาวะขาดน้ำรุนแรง ควรให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ แล้วส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว มักต้องรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล
แพทย์จะทำการวินิจฉัยโดยการตรวจอุจจาระและเพาะเชื้อจากอุจจาระ (rectal swab culture) ตรวจเลือดดูความสมดุลของอิเล็กโทรไลต์ และประเมินภาวะขาดน้ำ
การรักษา ปรับดุลสารน้ำและเกลือแร่ โดยการให้สารน้ำในรูปของริงเกอร์แล็กเทต (Ringer lactate) หรืออะซีทาร์ (Acetar) ถ้าไม่มีอาจใช้น้ำเกลือนอร์มัล (NSS) แทน โดยให้ในปริมาณที่สามารถทดแทนให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย (ในกรณีที่ผู้ป่วยซ็อกให้ขนาด
20–40 มล./กก. อย่างรวดเร็วๆ จนกว่าความดันโลหิตจะกลับเป็นปกติ และมีความรู้สึกตัวดี) และให้กินโพแทสเซียมคลอไรด์ หรือให้ทางหลอดเลือดดำถ้าอาเจียน
ถ้าตรวจพบว่าเป็นอหิวาต์ หรือสงสัยว่าเป็นโรคนี้ควรให้ยาปฏิชีวนะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- เตตราไซคลีน 2 กรัม ครั้งเดียว หรือ500 มก.วันละ 4 ครั้ง นาน 3 วัน หรือ
- ดอกซีไซคลีน 300 มก.ครั้งเดียว หรือ100 มก.วันละ 2 ครั้ง นาน 3วัน หรือ
- โคไตรม็อกซาโซล 2 เม็ด วันละ 2 ครั้งนาน 3 วัน
- ถ้าอยู่ในพื้นที่ที่เชื้อดื้อต่อเตตราไซคลีน ให้นอร์ฟล็อกซาซิน 400 มก.วันละ 2 ครั้ง นาน 3 วัน หรือไซโพรงฟล็อกซาซิน(ย4.11.2) 1 กรัม ครั้งเดียว หรืออีริโทรไมซิน 250 มก. (ย4.4) วันละ 4 ครั้ง นาน 3 วัน
- สำหรับเด็กและหญิงตั้งครรภ์ ควรให้ฟูราโซลิโดน (furazolidone) ขนาด 300 มก. (หรือ 7 มก./กก.) ครั้งเดียว หรือ 100 มก. (หรือ 5 มก./กก./วัน) วันละ 4 ครั้ง นาน 3 วัน หรืออีริโทรไมซิน 250 มก.(หรือ 40 มก./กก./วัน) วันละ 4 ครั้ง นาน 3 วัน หรือโคไตรม็อกซาโซล 2 เม็ด (หรือ 5-10 มก./กก./วัน ของไตรเมโทพริม) วันละ 2 ครั้ง นาน 3 วัน
- ผลการรักษา หากได้รับการรักษาได้ทันการมักจะหายได้ภายใน 3-6 วัน หลังได้รับยาปฏิชีวนะ อาการท้องเดินมักจะหายได้ใน 48 ชั่วโมง ปัจจุบันพบว่าอัตราๆตายต่ำกว่าร้อยละ 1 เนื่องจากผู้ป่วยมักได้รับการทดแทนสารน้ำและเกลือแร่ได้เพียงพอและรวดเร็ว ก่อนจะเกิดภาวะขาดน้ำรุนแรงและซ็อก
การป้องกัน
1. ดื่มน้ำต้มสุก หรือน้ำสะอาด ไม่ดื่มน้ำคลอง หรือดื่มน้ำบ่อแบบดิบๆ ไม่กินน้ำแข็งหรือไอศกรีมที่เตรียมไม่สะอาด กินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ และไม่มีแมลงวันตอม ไม่กินอาหารทะเลแบบดิบๆ ล้างมือด้วยน้ำสบู่ก่อนเตรียมอาการ ก่อนเปิบข้าว และหลังการถ่ายอุจจาระทุกครั้ง ควรถ่ายอุจจาระลงในส้วมที่ถูกสุขลักษณะอย่าถ่ายลงคลองหรือตามพื้นดิน
2. สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ ควรนำอุจจาระและสิ่งที่ผู้ป่วยอาเจียนออกมาไปเทใส่ส้วมหรือฝังดินให้มิดชิดอย่าเทตามพื้นหรือลงแม่น้ำ
ลำคลอง ส่วนเสื้อผ้าของผู้ป่วยที่แปดเปื้อนเชื้อ ห้ามนำไปชักในแม่น้ำลำคลอง ควรแช่ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือนำไปแนะนำไปฝังหรือเผาเสีย
3. ในปัจจุบันไม่แนะนำให้ให้ยาปฏิชีวนะแก่ชุมชนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค เนื่องจากไม่ได้ผลและทำให้เชื้อดื้อยา แต่อาจพิจารณาให้ในกลุ่มคนขนาดเล็ก เช่น ในเรือนจำ หรือในชุมชนที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคเกินร้อยละ 20
4. ปัจจุบันมี
วัคซีนป้องกันอหิวาต์ ชนิดใหม่ในรูปของการกินทางปาก (oral vaccine)ให้ 2 ครั้งห่างกัน 10–14 วัน ซึ่งสามารถใช้ป้องกันได้ผลดี แพทย์จะเลือกใช้ในบางกรณี เช่น ผู้ที่ต้องเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการระบาดของโรค เป็นต้น
Ambulance call
1669
Available 24 Hours
Are you five-star healthcare provider?
list your practice
to reach million of patient