การรักษา
หากสงสัย ควรส่งชันสูตรเพิ่มเติมโดยการเจาะเลือดทดสอบการทำงานของตับ (liver function test) ซึ่งจะพบว่ามีระดับเอนไซม์ตับ (AST‚ ALT) สูงกว่าปกติเป็นสิบๆ เท่า (บ่งชี้ว่ามีอาการอักเสบของเซลล์ตับ) ตลอดจนระดับบิลิรูบิน (bilirubin) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้ตัวเหลืองตาเหลือง) สูง
นอกจากนี้ยังอาจต้องเจาะเลือดตรวจดูชนิดของเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรค ว่าเป็นตับอักเสบชนิดเอ บี ซี หรือชนิดอื่น
เมื่อพบว่าเป็นโรคนี้จริง ควรให้การรักษาดังนี้
1. ถ้าพบในเด็กหรือคนหนุ่มสาว ซึ่งอาการโดยทั่วไปดี กินข้าวได้ ไม่ปวดท้องหรืออาเจียน ควรแนะนำให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวดังนี้
- พักผ่อนอย่างเต็มที่ ห้ามทำงานหนักจนกว่าจะรู้สึกหายเพลีย
- ดื่มน้ำมาก ๆ ประมาณวันละ 10 -15 แก้ว
- กินอาหารพวกโปรตีน (เช่น เนื้อ นม ไข่ ซุบ ถั่วต่างๆ) ให้มากๆ ส่วนอาหารมันให้กินได้ตามปกติ ยกเว้นในรายที่กินแล้วคลื่นไส้ อาเจียนให้งด
- ถ้าเบื่ออาหารให้ดื่มน้ำหวานหรือน้ำตาลกลูโคส ถ้ากินอาหารได้ตามปกติ ไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำหวานหรือกลูโคสให้มากขึ้น อาจทำให้น้ำหนักเกินได้
- ถ้ามีอาการท้องอืดหรือคลื่นไส้ ควรงดอาหารมัน
- แยกสำหรับกับข้าวและเครื่องใช้ส่วนตัวออกจากผู้อื่น
- ล้างมือหลังถ่ายอุจจาระทุกครั้ง
ส่วนยาไม่จำเป็นต้องให้ ยกเว้นในรายที่เบื่ออาหารอาจให้กินวิตามินรวม หรือวิตามินบีรวม วันละ 2-3 เม็ด ถ้าคลื่นไส้ อาจให้ยาแก้อาเจียน เช่น เมโทโคลพราไมด์ หรือดอมเพอริโดน ถ้ากินไม่ได้อาจฉีดกลูโคสหรือให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำเป็นต้น
2. ถ้าอาการตาเหลืองไม่จางลงใน 2 สัปดาห์ หรือมีไข้สูง อ่อนเพลียมาก น้ำหนักลดมาก ปวดท้องมากหรือ อาเจียนมาก หรือพบในผู้สูงอายุ ควรแนะนำไปรักษาที่โรงพยาบาลหากมีอาการมากอาจต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาลสักระยะหนึ่ง
ในการติดตามผลการรักษา อาจต้องนัดตรวจเลือดเป็นระยะๆ (ประมาณทุก 2-4 สัปดาห์) จนกระทั่งแน่ใจว่าระดับเอนไซม์เอเอสทีและเอแลทีลงสู่ปกติซึ่งแสดงว่าหายดีแล้ว
ผลการรักษา ส่วนใหญ่จะหายดี (ตาหายเหลืองหายเพลีย กินข้าวได้มาก และผลเลือดเป็นปกติ) ภายใน 3-16 สัปดาห์
ส่วนน้อย (โดยเฉพาะในรายที่เกิดจากไวรัสตับ อักเสบชนิดบีหรือชี) อาจเป็นเรื้อรัง นานเกิน 6 เดือน เรียกว่า
ตับอักเสบเรื้อรัง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งจะต้องทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือการตรวจชิ้นเนื้อตับ (liver biopsy) และการตรวจเลือดเพื่อดูสาเหตุ ความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อน (เช่น ตับแข็งหรือมะเร็งตับ) อาจต้องให้การรักษาด้วยการฉีดสารอินเตอร์เพอรอน (interferon) และให้ยาต้านไวรัส เช่น ลามิวูดีน (lamivudine) สำหรับไวรัสตับอักเสบบีและไรบาไวริน (ribavirin) สำหรับไวรัสตับอักเสบชี เป็นต้น มักต้องให้ยาต่อเนื่องกันนานๆ โดยทั่วไปไวรัสตับอักเสบซีจะตอบสนองต่อการรักษาได้ดีกว่าไวรัสตับอักเสบบี
การป้องกัน
สำหรับตับอักเสบชนิดเอ ควรกินอาหารสุกที่ไม่มีแมลงวันตอม ดื่มน้ำสะอาด ถ่ายลงส้วม ล้างมือด้วยน้ำสบู่ก่อนเตรียมอาหาร
ก่อนเปิบข้าว และหลังถ่ายอุจจาระ ทุกครั้ง
ปัจจุบันมีวัคซีนที่ใช้ป้องกันตับอักเสบชนิดเอ แต่เนื่องจากราคาวัคซีนค่อนข้างแพง จึงแนะนำให้ฉีดแก่สมาชิกในครอบครัวผู้ป่วย
ผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยผู้ประกอบการเกี่ยวกับอาการ บุคลากรทางการแพทย์ผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเมื่อมีการระบาดของโรค (เช่น นักเรียน ทหาร เป็นต้น) โดยฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 6 เดือน
สำหรับผู้ที่มีอายุเกิน 18 ปี ควรตรวจเลือดก่อนหากพบว่ามีภูมิคุ้มกันแล้วก็ไม่จำเป็นต้องฉีดให้สิ้นเปลือง
สำหรับตับอักเสบชนิดบีและซี ควรปฏิบัติดังนี้
1. ควรหลีกเลี่ยงการฉีดยา หรือให้น้ำเกลือโดยไม่จำเป็น ถ้าจำเป็นต้องฉีดยา ควรเลือกใช้เข็มและกระบอกฉีดยาที่ผ่านกรรมวิธีทำให้ปลอดเชื้อ
2. ในการให้เลือดควรใช้เลือดที่ตรวจไม่พบเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี โดยการตรวจเซ็กเลือดของผู้บริจาคทุกราย
3. แพทย์ พยาบาล และบุคลากรสาธารณสุข ควรระมัดระวังในการสัมผัสถูกเลือดของผู้ป่วย เช่น สวมถุงมือขณะเย็บแผล ผ่าตัด หรือสวนปัสสาวะผู้ป่วย
4. ปัจจุบันมี
วัคซีนป้องกันตับอักเสบชนิดบี แต่เนื่องจากราคาค่อนข้างแพง ยังไม่แนะนำให้ฉีดในคนทั่วไป จะเลือกฉีดให้แก่ทารถแรกเกิดแรกเกิดและผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดโรคนี้สูง เช่น แพทย์ พยาบาล ผู้ป่วยโรคเลือดที่ต้องรับการถ่ายเลือดบ่อย ๆ
สำหรับทารกแรกเกิดทุกคนสถานบริการสุขภาพของรัฐจะฉีดวัคซีนชนิดนี้โดยไม่คิดมูลค่าตั้งแต่วันแรกที่เกิด วัคซีนชนิดนี้จะให้ 3 ครั้ง ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 จะห่างจากครั้งแรก 1-2 เดือน และ 6 เดือนตามลำดับ ปัจจุบันพบว่าหลังจากดำเนินโครงการดังกล่าวได้ช่วยลดอัตราการเป็นพาหะลงได้มาก
สำหรับผู้ใหญ่ก่อนฉีดวัคซีนชนิดนี้ควรตรวจเลือดเสียก่อน หากพบว่าเป็นพาหะหรือมีภูมิคุ้มกันแล้วก็ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนให้สิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์
Ambulance call
1669
Available 24 Hours
Are you five-star healthcare provider?
list your practice
to reach million of patient