ข้อแนะนำ
1. โรคนี้ไม่มีทางรักษาให้หายขาด เพราะเซลล์ตับที่ถูกทำลายไปแล้วมิอาจหาทางเยียวยาให้ฟื้นตัวได้ อาการจึงมีแต่ทรงกับทรุด ผู้ป่วยควรปฏิบัติตัว ดังนี้
- ติดต่อรักษากับแพทย์คนใดคนหนึ่งเป็นประจำ อาจต้องตรวจเลือด ดูการเปลี่ยนแปลงของโรคเป็นระยะ ๆ
- ห้ามดื่มแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาด เพื่อป้องกันมิให้เซลล์ตับส่วนที่ยังดีอยู่ถูกทำลายมากขึ้น หากเป็นโรคตับแข็งในระยะแรกเริ่ม ก็จะช่วยให้มีชีวิตอยู่ได้ยาวนาน
- กินอาหารพวกแป้งและของหวาน ผัก ผลไม้สด และอาหารพวกโปรตีนเป็นประจำ ยกเว้นในระยะท้ายของโรค ที่เริ่มมีอาการทางสมองร่วมด้วย จำเป็นต้องลดอาหารพวกโปรตีนลงเหลือวันละ 30 กรัม เพราะอาจสลายตัวเป็นสารแอมโมเนียที่มีผลต่อสมอง
- ถ้ามีอาการบวมหรือท้องมาน ควรงดอาหารเค็ม และห้ามดื่มน้ำเกินวันละ 2 ขวดกลมหรือ 6 ถ้วย (1‚500) มล.)
- อย่าซื้อยากินเอง เพราะอาจมีพิษต่อตับมากขึ้น
2. ผู้ป่วยตับแข็งที่ตรวจพบเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี ควรตรวยเลือดหาสารแอลฟาฟีโตโปรตีน (alphafetoprotein) ทุก 3-6 เดือน เพื่อตรวจกรองหาโรคมะเร็งตับระยะแรกเริ่ม เพราะเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งชนิดนี้สูง
3. โรคนี้ถ้าเป็นระยะแรกเริ่ม และปฏิบัติตัวได้เหมาะสม จะสามารถมีชีวิตได้นานเกิน 5–10 ปีขึ้นไป แต่ถ้าปล่อยให้มีภาวะแทรกซ้อนชัดเจน เช่น ดีซ่าน ท้องมาน อาเจียนเป็นเลือด ก็อาจอยู่ได้ 2-5 ปี (ประมาณ 1 ใน 3 อาจอยู่ได้เกิน 5 ปี)
4. ในปัจจุบัน แพทย์อาจพิจารณาทำการปลูกถ่ายตับในผู้ป่วยตับแข็งบางราย ซึ่งช่วยให้สามารถมีชีวิตยืนยาว แต่ยังเป็นวิธีการรักษาที่ยุ่งยาก ราคาแพง และหาตับที่มีผู้บริจาคซึ่งเข้ากับเนื้อของผู้ป่วยได้ค่อนข้างยาก
Ambulance call
1669
Available 24 Hours
Are you five-star healthcare provider?
list your practice
to reach million of patient