ข้อแนะนำ
1. ก่อนวินิจฉัยอาการจุกแน่นตรงลิ้นปี่ว่า เป็นเพียงอาหารไม่ย่อยชนิดไม่มีแผลงหรือแผลเพ็ปติก หรือโรคกระเพาะอาหาร ควรซักถามอาการและตรวจดูอาการอย่างละเอียด เพราะมีโรคหลายอย่างที่อาจมีอาการคล้ายกับโรคทั้ง 2 ชนิดนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในคนอายุ 40 ปี ขึ้นไป อาจเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับหรือมะเร็งในช่องท้องอื่นๆ นิ่วน้ำดี โรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคกรดไหลย้อน
2. ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วย
- งดบุหรี่ งดดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มกาเฟอีน ซ็อกโกเลต น้ำอัดลม และเหลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ ยาสตีรอยด์ ยาแอนติสปาสโมดิก ทีโอฟิลลีน เป็นต้น
- กินอาหารให้ตรงเวลาทุกมื้อ อย่ากินอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด อาหารมัน ของดอง หรืออาหารสุกๆ ดิบ ๆ หรือย่อยยาก ควรกินอาหารเย็นก่อนเวลาเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมงขึ้นไป
- ควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียด อย่ารีบเร่ง อย่ากินจนอิ่มมากเกินไป
- หลังกินอาหารอิ่มอย่าล้มตัวลงนอน หรืออยู่น่าท่าก้มงอตัว และอย่ารัดเข็มขัดแน่น
- ถ้าน้ำหนักมากควรลดน้ำหนัก
- ถ้าเครียดควรออกกำลังกายเป็นประจำ หรือหาวิธีผ่อนคลายความเครียด เช่น สวดมนต์ ไหว้พระ ทำสมาธิ ภาวนา ตามหลักศาสนาที่นับถือ หรือดูภาพยนตร์ ฟังเพลง เล่นดนตรี ปลูกต้นไม้ ทำงานอดิเรกหาความบันเทิง
การรักษา
1. ถ้ามีลมในท้องหรือเรอ ให้ยมแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือยาต้านกรดที่มีไซเมทิโคนผสม ในเด็กเล็ก ให้กินไซเมทิโคน ½ – 1 หยด (0.3 - 0.6 มล.) ผสมน้ำ 2 – 4 ออนซ์ - ¼ หรือใช้ทิงเจอร์มหาหิงคุ์ทาหน้าท้อง ถ้าไม่ได้ผล หรือคลื่นไส้ อาเจียนให้เมโทโคลพราไมด์ หรือดอมเพอริโน ก่อนอาหาร 3 มื้อ
ถ้ามีความเครียด วิตกกังวล หรือนอนไม่หลับให้ไดอะซีแพม
ถ้าดีขึ้น ให้กินยาประมาณ 2-4 สัปดาห์ แต่ถ้าไม่ดีขึ้นควรส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุ
2. ถ้าทีอาการแสบท้องเวลาหิวหรือตอนดึก หรือจุกเสียดแน่นท้องหลังอาหาร เรอเปรี้ยว หรือมีประวัติกินยาแอสไพริน ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ หรือดื่มแอลกอฮอล์ ให้ยาต้านกรดร่วมกับยาลดการสร้างกรด เช่น รานิทิดีน ถ้ารู้สึกทุเลาหลังกินยาได้ 2–3 ครั้ง ควรกินต่อจนครบ 2 สัปดาห์ ถ้ารู้สึกหายดีควรกินยานานประมาณ 8 สัปดาห์ เพื่อครอบคลุมโรคแผลเพ็ปติกที่อาจเป็นสาเหตุของอาหาร
ไม่ย่อยได้
ควรส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจพิเศษเพิ่มเติม ถ้ามีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
- กินยาต้านกรดและยาลดการสร้างกรด 2 – 3 ครั้งแล้วยังไม่รู้สึกทุเลาแม้แต่น้อย หรือลุเลาแล้วแต่กินยาจนครบ 2 สัปดาห์แล้วรู้สึกไม่หายดี หรือกำเริบซ้ำหลังจากหยุดกินยาจนครบ 8 สัปดาห์แล้ว
- มีอาการเบื่ออาหาร กลืนลำบาก น้ำหนักลดซีด ตาเหลือง ตับโต ม้ามโต คลำได้ก้อนในท้อง อาเจียนรุนแรง อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายดำ
- สงสัยเป็นโรคหัวใจขาดเลือด หรือนิ่วน้ำดี
- พบในผู้ที่มีอายุ 40 ปี ขึ้นไป
การวินิจฉัยอาจต้องทำการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์ อัลตราซาวนด์ ตรวจคลื่นหัวใจ เอกซเรย์กระเพาะลำไส้โดยการกลืนแป้งแบเรียม (barium meal/upper GI study) ใช้กล้องตรวจกระเพาะลำไส้ (endoscopy) เป็นต้น แล้วให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ
Ambulance call
1669
Available 24 Hours
Are you five-star healthcare provider?
list your practice
to reach million of patient