การรักษา
หากสงสัยควรส่งโรงพยาบาลหรือปรึกษาแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ มักจะทำการวินิจฉัยโดยการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น การถ่ายภาพรังสีทางเดินปัสสาวะโดยการฉีดสารทึบรังสีเข้าหลอดเลือดดำ (intravenous urography) การตรวจอัลตราซาวนด์ การใช้กล้องส่องตรวจกระเพาะปัสสาวะ(cystoscopy) เป็นต้น นอกจากนี้อาจทำการตรวจปัสสาวะ (ดูการติดเชื้อหรือเลือดออก) ตรวจระดับครีอะตินีนในเลือด (ดูภาวะไตวาย) ตรวจสารพีเอสเอ ในเลือด (PSA)*
การักษา แพทย์จะให้การดูแลรักษาตามภาวะที่ พบดังนี้
- ในรายที่เป็นระยะแรกเริ่ม มีอาการเล็กน้อยไม่ต้องให้การรักษาใด ๆ เฝ้าติดตามดูอาการเป็นระยะ
- ในรายที่มีอาการปัสสาวะลำยากมากขึ้น มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตหรือเป็นมาก แต่อยู่ระหว่างรอผ่าตัดหรือมีข้อห้ามในการผ่าตัด แพทย์จะให้การรักษา ด้วยยาชนิดใดชนิดหนึ่ง
- ยากลุ่มปิดกั้นแอลฟา (alpha-blockers) เช่น พราโซซิน (prazosin) 2 มก. วันละ 2 ครั้ง เทราโซซิน (terazosin)2-10 มก. วันละครั้งก่อนนอน หรือดอกซา- โซซิน (doxazosin) 4-8 มก. วันละครั้งก่อนนอน เป็น ต้น ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อต่อมลูกหมากและกล้ามเนื้อหูรูดที่คอกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ถ่ายปัสสาวะได้คล่องขึ้น นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ลดความดันโลหิต เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีโรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วย
- ยากลุ่มยับยั้งเอนไซม์แอลฟารีดักเทศ (alpha-reductase inhibitors) เช่น ไฟนาสเตอไรด์ (finasteride) 5 มก. วันละครั้ง อย่างน้อย 3 เดือน จึงจะเห็นผล ยานี้ มีฤทธิ์ยับยั้งไม่ให้เทสโทสเทอโรนเปลี่ยนเป็นไดไฮโดร-เทสโทสเทอโรน (ซึ่งกระตุ้นให้ต่อมลูกหมากโต)ก็จะทำให้ต่อมลูกหมากเล็กลงได้ประมาณร้อยละ 30 ยานี้มีข้อดีทำให้ผมดกขึ้น เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีผม บางหรือศีรษะล้านร่วมด้วย
- 3. ในรายที่ใช้ยาไม่ได้ผลหรือมีอาการปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะเป็นเลือดบ่อย ๆ เป็นโรคติดเชื้อของทาง เดินปัสสาวะบ่อย ๆ มีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือผนัง กระเพาะปัสสาวะหย่อนยานหรือเป็นถุงโป่งพอง แพทย์ จะทำการรักษาด้วยการผ่าตัดซึ่งมีอยู่หลายวิธี ในปัจจุบันนิยมวิธีผ่าตัดโดยการใช้กล้องส่องผ่านท่อปัสสาวะ(transurethral resection of the prostate/TURP) แต่ถ้าต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่มาก ก็อาจต้องทำการผ่าตัด โดยการเปิดเข้าหน้าท้อง (suprapubic หรือ retropubic prostectomy) วิธีนี้อาจทำให้เกิดภาวะกลั่นปัสสาวะไม่ ได้ และภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศแทรกซ้อนหลังผ่าตัดมากกว่าการผ่าตัดโดยการใช้กล้อง ผู้ป่วยบางราย แพทย์อาจเลือกรักษาด้วยวิธีอื่นที่ง่ายและเสี่ยงน้อยกว่าการผ่าตัด เช่น
- การขยายท่อปัสสาวะโดยการใส่ท่อคาไว้ (prostatic urethral stwnt) ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ผ่าตัดไม่ได้หรือปฏิเสธการผ่าตัด
- การจี้ต่อมลูกหมากด้วยแสงเลเซอร์ (trans-urethral laser incision of prostate/TULIP) หรือด้วย ไฟฟ้า (transurethral electrovaporization of prostate)
- การใช้คลื่นไมรโครเวฟ (microwave ther-motherapy)หรือคลื่นอัลตราซาวนด์ (high frequency focus ultrasound thermotherapy) หรือคลื่นวิทยุ radiofrequency vaporization) ทำให้เกิดความร้อน บริเวณต่อมลูกหมากจนเนื้อเยื่อตาย ต่อมลูกหมากก็จะฝ่อลง ทำให้ปัสสาวะได้คล่องขึ้นหากวิธีเหล่านี้ไม่ได้ผล ก็จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
- 4 ให้การรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น เช่นให้ยาปฏิชีวนะโรคติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ ใช้สายสวนปัสสาวะในรายที่ปัสสาวะ ไม่ออก เป็นต้น
Ambulance call
1669
Available 24 Hours
Are you five-star healthcare provider?
list your practice
to reach million of patient