การรักษา
หากสงสัยให้ส่งโรงพยาบาลด่วน ถ้ามีอาการชักให้ไดอะซีแพม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือเหน็บทางทวารหนักเพื่อลดอาการชักเกร็ง ถ้ามีภาวะขาดน้ำหรือช็อก ให้น้ำเกลือไประหว่างทางด้วย
มักวินิจฉัยโดยการเจาะหลัง (lumbar puncture) ซึ่งจะพบความผิดปกติของน้ำไขสันหลัง เช่น ความดันน้ำไขสันหลังสูงกว่าปกติน้ำไขสันหลังขุ่น (ถ้าเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดเป็นหนอง) มีการเปลี่ยนแปลงของชนิดและปริมาณของเม็ดเลือดขาว มีการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลและโปรตีน ตรวยพบเชื้อก่อโรคจากการนำน้ำไขสันหลังไปตรวจย้อมสี (smear and stain) หรือเพาะเชื้อ (culture) เป็นต้น ความผิดปกติของน้ำไขสันหลังจะมีลักษณะจำเพาะตามสาเหตุของโรค จึงนำมาใช้ในการแยกแยะสาเหตุ
นอกจากนี้ อาจจำเป็นต้องทำการตรวจพิเศษอื่น ๆเช่น ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจอุจาระ ถ่ายภาพรังสีปอดและไซนัส ถ่ายภาพสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การทดสอบทางน้ำเหลืองเพื่อหาระดับสารภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัส เป็นต้น เพื่อค้นหาสาเหตุ และประเมินความรุนแรงของโรค
การรักษา แพทย์จะให้การรักษาตามอาการ (เช่นยาลดไข้ ยากันชัก ปรับดุลสารน้ำและอิเล็กโทรไลต์ เจาะหลังเพื่อลดความดันน้ำไขสันหลัง เจาะคอช่วยหายใจในรายที่หมดสติ ให้อาการทางสายยางในรายที่กินไม่ได้ เป็นต้น) และให้ยารักษาเฉพาะตามสาเหตุ เช่น
- ถ้าเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย จะให้ยาปฏิชีวนะตามชนิดของเชื้อต้นเหตุ
- ถ้าเกิดจากเชื้อวัณโรค จะให้ยารักษาวัณโรค นาน 6 เดือน
- ถ้าเกิดจากเชื้อรา จะให้ยาฆ่าเชื้อ ได้แก่ แอมโฟเทอริซินบี (amphotericin B) ฟลูโคนาโซล (fluconazole)ไอทราโคนาโซล
- ถ้าเกิดจากเชื้อไวรัส ไม่มียารักษาโดยเฉพาะจะให้การรักษาตามอาการ ซึ่งอาการมักจะดีขึ้นภายใน 2-3 สัปดาห์
- ถ้าเกิดจากพยาธิ ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ จะให้การรักษาตามอาการและทำการเจาะหลังซ้ำบ่อยๆ เพื่อลดความดันน้ำไขสันหลังให้กลับสู่ปกติ หลังเจาะหลังผู้ป่วยจะรู้สึกอาการดีขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ แพทย์อาจพิจารณาให้เพร็ดนิโซโลน ผู้ใหญ่ให้ขนาด 60มก./วัน นาน 2 สัปดาห์ จะช่วยลดระยะเวลาของการปวดศีรษะ และลดจำนวนครั้งของการเจาะหลังลง
- ถ้าเกิดจากเชื้ออะมีบา จะให้ยาแอมโฟเทอริซินบีร่วมกับยาอื่นๆ เช่น ไม่โคนาโซล (miconazole)ไรแฟมพิซิน เตตราไซคลีน เป็นต้น
ผลการรักษา ถ้าอาการไม่รุนแรง และได้รับการ รักษาแต่เนิ่น ๆ มักจะดีขึ้นภายในไม่กี่วัน และหายเป็นปกติภายใน 1-3 สัปดาห์ แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการรุนแรง (เช่น หมดสติ ความดันโลหิตต่ำ) หรือได้รับการรักษาล่าช้าไป หรือพบในทารกแรกเกิดหรือผู้สูงอายุ ก็อาจเสีย ชีวิตหรือมีความพิการทางสมองตามมาได้ บางรายอาจมีโรคลมชักแทรกซ้อน ซึ่งจำเป็นต้องให้ยากันชักเช่น ฟีโนบาร์บิทาล เฟนิโทอิน รักษาอย่างต่อเนื่อง
การป้องกัน
1. ป้องกันมิให้เป็นวัณโรค โดยการฉีดวัคซีนบีซีจี (BCG) ตั้งแต่แรกเกิด และถ้าเป็นวัณโรคควรรักษาให้หายขาด เพื่อป้องกันมิให้เกิดโรคแทรกซ้อน หรือแพร่เชื้อให้ผู้อื่น
2. ป้องกันมิให้เป็นโรคพยาธิตัวจี๊ด และโรคพยาธิแองจิโอ โดยการไม่กินกุ้ง ปลา หรือหอยโข่งดิบ
3. ถ้าเป็นโรคหูน้ำหนวกหรือหูชั้นกลางอักเสบหรือไซนัสอักเสบ ควรรีบรักษา อย่าปล่อยให้เป็นเรื้อรังจนเข้าสมอง
4. ในกรณีที่เป็นผู้สัมผัส (ใกล้ชิด) ผู้ป่วยไขกาฬหลังแอ่น ควรให้ยาปฏิชีวนะ เช่นไรแฟมพิซิน กินป้องกัน
Ambulance call
1669
Available 24 Hours
Are you five-star healthcare provider?
list your practice
to reach million of patient