อาการ
อาการขึ้นกับสาเหตุ ระยะ และความรุนแรงของโรค
ผู้ป่วยมักมีประวัติและอาการแสดงของภาวะ การเจ็บป่วยที่เป็นสาเหตุนำมาก่อน เช่น การบาดเจ็บ เลือดออก อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด (ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร) ท้องเดิน อาเจียน กระหายน้ำและปัสสาวะบ่อยมาก (เบาหวาน
เบาจืด) ปวดท้องรุนแรง (ครรภ์นอกมดลูก) เจ็บหน้าอก (กล้ามเนื้อหัวใจตาย) เป็นไข้ จากโรคติดเชื้อ เป็นต้น
ผู้ป่วยที่เริ่มเข้าสู่ภาวะช็อกในระยะแรก ๆอาจมีอาการไม่เด่นชัด จนกระทั้งระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลวและอวัยวะต่าง ๆ ขาดเลือดไปเลี้ยง จึงจะปรากฏอาการเด่นชัด
อาการที่พบได้บ่อยก็คือ อ่อนเพลีย กระสับกระส่าย เวียนศีรษะ หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม อาจรู้สึกใจหวิว ในสั่นร่วมด้วย อาการจะเป็นมากเวลาลุกนั่งจนต้องล้ม ตัวลงนอนราบผู้ป่วยมีอาการกระหายน้ำปัสสาวะออกน้อย ตัวเย็นและมีเหงื่อออก ริมผีปากและเล็บเริ่มเขียวคล้ำ เจ็บแน่นหน้าอกหายใจตื้นและถี่
ต่อมาจะมีอาการซึม สับสน เพ้อ กระหายน้ำมากปัสสาวะไม่ออก ผิวหนังซีดคล้ำ ตัวเย็นจัด หายใจหอบ ค่อย ๆ ซึมลงจมหมดสติในที่สุด
ข้อแนะนำ
ผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกโดยตรวจหาสาเหตุไม่ได้ชัดเจน (เช่น ตกเลือด โรคหัวใจ) หรือพบว่ามีไข้สูงร่วมด้วย ควรนึกถึงภาวะติดเชื้อและต่อมหมวกไตบกพร่องเฉียบพลัน
สำหรับต่อมหมวกไตบกพร่องเฉียบพลัน (ภาวะต่อมหมวกไตวิกฤติ) เป็นภาวะที่พบได้เป็นครั้งคราวส่วนน้อยทีเกิดจาก
โรคแอดดิสัน ส่วนใหญ่เกิดจากการใช้สตีรอยด์ รักษาโรคในขนาดสูงนานเกิน 1 สัปดาห์ หรือใช้ในขนาดต่ำติดต่อกันเป็นแรมเดือน แรมปี ที่พบบ่อยก็คือ การใช้ยาชุด ยาลูกกลอนที่มีสตีรอยด์ผสมรักษาตัวเองเมื่อเป็นโรคปวดข้อ (เช่น ข้อเข่า เสื่อม) โรคภูมิแพ้หรือโรคหืด จนเกิด
โรคคุชชิง และต่อมหมวกไตฝ่อหรือบกพร่องเรื้อรัง ผู้ป่วยอาจเกิดภาวะช็อกเมื่อมีการหยุด (ถอน) ยาทันที หรือมีภาวะเครียด เช่น ติดเชื้อ ท้องเดิน อุบัติเหตุ ผ่าตัด อดอาหาร เป็นเวลานาน เป็นต้น ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ มีไข้สูง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเดิน สับสนหมดสติ ความดันโลหิตต่ำ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีก็อาจเสียชีวิตในเวลารวดเร็ว หากได้รับสตีรอยด์ ฉีดเข้าร่างกายก็จะฟื้นตัวและหายเป็นปกติได้
ดังนั้น เมื่อพบผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกโดยไม่ทราบสาเหตุชัดเจน หรือให้การรักษาแล้วไม่ดีขึ้น ควรคิดถึง โรคนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีประวัติว่ากินยาสตีรอยด์ยาชุด หรือยาลูกกลอนอยู่เป็นประจำ หรือตรวจพบลักษณะอาการของโรคคุชชิง เช่น อ้วนฉุ หน้าอูม แขนขาลีบ มีไขมัน (หนอกควาย) ที่หลังคอ เป็นต้น
การรักษา
ถ้าพบผู้ป่วยมีภาวะช็อก ควรรีบพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาล ระหว่างนั้นควรให้การรักษาขึ้นต้น
แพทย์จะรับตัวผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาลทำการค้นหาสาเหตุโดยการตรวจเลือดปัสสาวะ เอกซเรย์คลื่นหัวใจ และตรวจพิเศษอื่น ๆ
การรักษา ให้การรักษาแบบประคับประคอง เช่น ให้น้ำเกลือนอร์มัลหรือริงเกอร์แล็กเทตให้เลือด ใส่ท่อ หายใจ ให้ออกซิเจน เป็นต้น
ในรายที่ให้สารน้ำแล้วความดันโลหิตยังต่ำ แพทย์จะให้สารกระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อหลอดเลือด เช่น โดบูทามีน (dobutamine) โดพามีน (dopamine) หรือ นอร์เอพิเนฟรีน (norepinephrine)
นอกจากนี้จะให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ เช่น
- ให้ยาปฏิชีวนะรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ
- ผ่าตัดผู้ป่วยที่เป็นครรภ์นอกมดลูก
- ให้การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายแบบฉุกเฉิน
- เช่น การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบัลลูน
- สำหรับภาวะช็อกจากต่อมหมวกไตบกพร่อง เฉียบพลัน ฉีดไฮโดรคอร์ติโซน 100 มก.เข้าหลอดเลือดดำทุก 6 - 8 ชั่วโมง
- สำหรับภาวะช็อกจากการแพ้ ฉีดอะดรีนาลิน โดยผสมยานี้ 0.1 มล.ในน้ำเกลือ10 มล.ฉีดเข้าหลอดเลือดดำใน 5 -10 ฉีดไดเฟนไฮดรามีน 25 - 50 มก.(เด็กให้ขนาด 1 มก./กก.) เข้าหลอดเลือดดำ ฉีดรานิทิดีน 50 มก.(เด็กให้ขนาด 0.5 มก./กก.) เข้าหลอดเลือดดำ และฉีดเมทิลเพร็ดนิโซโลน 125 มก.(เด็กให้ขนาด 1-2 มก./กก) เข้าหลอดเลือดดำ
ผลการรักษา ขึ้นกับความรุนแรงของโรค และระยะ ของโรคที่เริ่มให้การรักษา ถ้าสามารถให้การรักษาตั้งแต่ ระยะแรกเริ่มในขณะที่มีอาการรุนแรงไม่มาก ก็มักจะได้ ผลดีหรือหายเป็นปกติ ถ้าสามารถให้การรักษาตั้งแต่ระยะแรกเริ่มในขณะที่มีอาการรุนแรงไม่มาก ก็มักจะได้ผลดีหรือหายเป็นปกติ แต่ถ้าปล่อยให้อวัยวะสำคัญขาด เลือดจนเกินภาวะล้มเหลว ก็มักจะเสียชีวิต โดยทั่วไปภาวะช็อกที่มีสาเหตุจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย และภาวะโลหิตเป็นพิษ มักมีอัตราตายค่อนข้างสูง
การป้องกัน
การป้องกันภาวะช็อก สามารถทำได้โดย
1.วินิจฉัยและให้การรักษาอาการเจ็บป่วย (เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ ท้องเดิน ไข้เลือดออก การบาดเจ็บ) ให้ถูกต้องตั้งแต่แรก
2. มีพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคที่เป็นสาเหตุของภาวะช็อก เช่น โรคหัวใจขาดเลือด การหลีกเลี่ยงการใช้สตีรอยด์อย่างไม่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่อาจทำให้มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร ระวังการแพ้ยา เป็นต้น
Ambulance call
1669
Available 24 Hours
Are you five-star healthcare provider?
list your practice
to reach million of patient