หัวใจวาย/หัวใจล้มเหลว (Congestive heart failure/CHE)
หัวใจวาย (หัวใจล้มเหลว ก็เรียก) หมายถึง ภาวะที่หัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไม่ได้หรือได้ไม่เต็มที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ และมีเลือดคั่งในปอด ตับ แขนขา และอวัยวะต่างๆ
อาการอาจเกิดขึ้นฉับพลันทันที หรือค่อยเป็นค่อยไปอย่างเรื้อรังก็ได้ แล้วแต่สาเหตุที่พบ
โรคนี้ถือเป็นภาวะร้ายแรง หากรักษาไม่ทัน อาจตายได้ ในรายที่เป็นนาน ๆ อาจมีตับแข็ง แทรกได้
สาเหตุ
มักเป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคหัวใจที่เกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย
โรคหัวใจรูมาติก โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือจาก
โรคเอสแอลอี โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการ (cardiomyopathy) จากการดื่มแอลกออล์จัด หรืจากโรคเบาหวาน เป็นต้น
นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากโรคความดันโลหิตสูง โรคปอดเรื้อรัง (เช่น ถุงลมปอดโป่งพอง หลอดลมพอง หืด) ภาวะไตวายเรื้อรัง
คอพอกเป็นพิษ ภาวะโลหิตจางรุนแรง
โรคเหน็บชา ที่มีความผิดปกติของหัวใจร่วมด้วย การให้น้ำเกลือหรือให้เลือดเร็วเกินไป
ข้อแนะนำ
1.ผู้ป่วยโรคหัวใจ บางครั้งใช้เครื่องตรวจปอด อาจมีเสียงมีเสียงวี้ด (wheezing) คล้ายโรคหืด เรียกว่า
อาการหืดจากโรคหัวใจ (cardiac asthma) ดั้งนั้นก่อนให้การรักษาผู้ป่วยที่สงสัยเป็นหืด ต้องแน่ใจว่าไม่มีอาการบวม ตับโต หรือมีประวัติของโรคหัวใจ
2.ผู้ป่วยที่กินยาช่วยหัวใจทำงาน เช่น ไดจอกซินต้องระวังหากกินเกินขนาดหรือในภาวะ
โพแทสเซียมในเลือดต่ำ อาจมีพิษต่อหัวใจได้ อาการเป็นพิษ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่าตาลาย ชีพจรเต้นช้ากว่านาทีละ 60 ครั้ง ดังนั้นถ้าผู้ป่วยกินยาขับปัสสาวะซึ่งอาจ ทำให้ระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำอาจต้องให้กิน ยาน้ำแทสเซียมคลอไรด์ 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 2-3 ครั้งร่วมด้วย
3.ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วย
- ติดต่อรักษากับแพทย์อย่าได้ขาด และกินยา
- ตามแพทย์สั่งอย่างต่อเนื่อง
- งดแอลกอฮอล์ บุหรี่
- ห้ามตรากตรำงานหนัก
- งดอาหารเค็ม เพื่อลดบวมและป้องกันอาการกำเริบ
การรักษา
หากสงสัยควรส่งโรงพยาบาลทันที
ถ้าบวมและหอบมาก ให้ยาขับปัสสาวะ เช่น ฟูโรซีไมด์1 1-2 หลอดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
ในเด็กเล็ก ถ้าสงสัยเกิดจากโรคเหน็บชา ให้ฉีดวิตามินบี 1 ร่วมด้วย
ผู้ป่วยมักจะต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล อาจต้องตรวจเลือด (ดูภาวะซีด ทดสอบการทำงานของไต อิเล็กโทรไลต์ เป็นต้น) ตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์ปอดตรวจคลื่นหัวใจ ถ่ายภาพหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (echocardiogram) เป็นต้น
การรักษา ให้ออกซิเจน จำกัดปริมาณน้ำที่ดื่ม ให้ยาขับปัสสาวะ ร่วมกับยาต้านเอช เช่น อีนาลาพริล (enalapril) หรือแคปโทพริล (captopril) (สำหรับยาต้านเอช ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง เพราะอาจทำให้ความดันโลหิตต่ำ โพแทสเซียมในเลือดสูง และเกิดภาวะไตวายได้)
ถ้ายังไม่ได้ผล อาจให้ยาช่วยหัวใจทำงาน เช่น ไดจอกซิน (digoxin) เพิ่มเติม
นอกจากนี้ก็ให้ยารักษาโรคที่เป็นสาเหตุร่วมด้วย เช่น
ถ้าเกิดจากโรคความดันโลหิตสูง ก็ให้ยาลดความดัน
ถ้าเกิดจากโรคเหน็บชา ก็ให้วิตามินบี 1
ถ้าซีด อาจต้องให้เลือด และยาบำรุงโลหิต
ถ้าเกิดจากโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือ
โรคหัวใจรูมาติก อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
Ambulance call
1669
Available 24 Hours
Are you five-star healthcare provider?
list your practice
to reach million of patient