การรักษา
1.แนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่าและกิจกรรรมที่ทำให้โรคกำเริบ (เช่น วิ่ง เดิน หรือยืนนาน ๆ ยกของหนัก) ลดน้ำหนักตัว ประคบด้วยน้ำแข็ง วันละ 3 - 4 ครั้ง ๆ ละ 15 - 20 นาที บริหารกล้ามเนื้อน่อง เอ็นร้อยหวายและพังผืดส้นเท้า ให้ยาต้านอักเสบที่ไมใช่สตีรอยด์
ถ้าได้ผลควรให้ยานาน 6 - 8 สัปดาห์
2.ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 2 สัปดาห์ หรือปวดรุนแรงควรแนะนำไปโรงพยาบาลหรือปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ถ้าสงสัยว่าเกิดจากสาเหตุอื่นอาจต้องทำการเอกซเรย์ หรือตรวจพิเศษอื่น ๆ เพิ่มเติม
การรักษา นอกจากการให้การดูแลรักษาดังกล่าวแล้ว แพทย์อาจให้การรักษาอื่น ๆ เช่น กายภาพบำบัด การใช้อุปกรณ์แก้ไขภาวะผิดปกติของเท้า (เช่น รองเท้าเทปพันเท้า) การใช้เฝือกใส่เวลาเข้านอนเพื่อยึดกล้ามเนื้อน่อง และพังผืดส้นเท้า
หากไม่ได้ผล อาจต้องใช้สตีรอยด์ ฉีดเข้า พังผืด และส่วนน้อยที่อาจต้องแก้ไขด้วยการผ่าตัด
การป้องกัน
โรคนี้อาจป้องกันได้ด้วยการปฏิบัติดังนี้
- ลดน้ำหนัก (ถ้าน้ำหนักเกิน)
- อย่าเดินเท้าเปล่าบนพื้นที่แข็ง
- เลือกสวมใส่รองเท้าที่พื้นหนาแต่มีความยืดหยุ่นหลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูง
- เวลาเล่นกีฬาหรืออกกำลังกาย ควรทำการอบอุ่นร่างกายก่อน และอย่าใส่รองเท้ากีฬาที่เสื่อมสภาพ
- ก่อนลุกจากเตียงหลังตื่นนอน ควรทำการบริหารยืดพังผืดส้นเท้า โดยการจับนิ้วเท้าเหยียดขึ้น
Ambulance call
1669
Available 24 Hours
Are you five-star healthcare provider?
list your practice
to reach million of patient