ข้อแนะนำ
1.ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการบาดทะยักเฉพาะที่คือมีอาการหดเกร็งและแข็งตัวของกล้ามเนื้อใกล้บริเวณบาดแผล มักเกิดจากการติดเชื้อที่ไม่รุนแรงและหายไปได้เอง แต่ในบางรายก็อาจมีอาการกระจายไปทั่วร่างกายก็ได้
2.ผู้ป่วยบาดทะยักในระยะแรกเริ่มที่มีอาการขากรรไกรแข็ง และคอแข็ง โดยผู้ป่วยยังรู้สึกตัวดีและ ไม่มีไข้ อาจแยกไม่ได้ชัดเจนจากอาการข้างเคียงจากยา เช่น
เมโทโคลพราไมด์ ฟีโนไทอาซีน (phenolthiazine) เป็นต้น ถ้าพบผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าว ควรรับไว้สังเกตอาการในโรงพยาบาลอย่างใกล้ชิด ถ้าเกิดจากยามักมีประวัติเกิดอาการหลังใช้ยาและจะทุเลาได้เองเมื่อหมดฤทธิ์ยา ภายใน 6-8 ชั่วโมง) หรือหลังให้ยาเช่น ไดเฟยไฮดรามีน
การรักษา
หากสงสัย ให้ส่งโรงพยาบาลด่วน ก่อนส่งโรงพยาบาลอาจให้ไดอะซีเพม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือเหน็บทางทวารหนัก เพื่อลดการชักเกร็ง
แพทย์มักจะวินิจฉัยจากอาการแสดงเป็นหลัก หากแยกไม่ได้ชัดเจนจากสาเหตุอื่น อาจต้องทำการตรวจพิเศษ เช่น ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เพาะเชื้อ เจาะหลังกรวดน้ำไขสันหลัง เอกซเรย์ เป็นต้น เพื่อวินิจฉัยแยกโรคอื่นๆ
การรักษา มักจะต้องรับตัวผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาลให้การรักษาตามอาการ เช่น ให้สารน้ำ เกลือแร่ และอาหารให้ยากันชัก (เช่น ไดอะซีเพม) ใส่ท่อหายใจ (บางรายอาจต้องเจาะคอ) และใช้เครื่องช่วยหายใจ ดูแลรักษา บาดแผล เป็นต้น
ที่สำคัญ จำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักและให้ยาต้านพิษ โดยการฉีดอิมมูนโกลบูลินต้านพิษบาดทะยัก (human tetanus immune globulin/HTIG) 500 ยูนิต เข้ากล้ามครั้งเดียว ถ้าไม่มีอาจใช้เซรุ่มแก้พิษบาดทะยัก(tetanus antitoxin/TAT)100,000-100,000 ยูนิต แบ่งฉีดเข้ากล้ามและเข้าหลอดเลือดดำ และให้ยาปฏิชีวนะ ได้แก่ เพนิซิลลินจี 1.2 ล้านยูนิต ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุก 6 ชั่วโมง (เด็กให้ขนาด 100,000-200,000 ยูนิต/กก./วัน แบ่งให้ทุก 4 ชั่วโมง) หรือเมโทรไนดาโซล 500 มก. ทุก 6 ชั่วโมง (เด็กให้ขนาด 30 มก./กก./วัน แบ่งให้ทุก
6 ชั่วโมง) ฉีดเข้าหลอดเลือดดำนาน7-10 วัน
ผลการรักษา ถ้าผู้ป่วยได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะแรกเริ่มที่เป็น ก็มักจะมีโอกาสหายขาดได้ อาจต้องใช้เวลารักษาและฟื้นฟูสภาพด้วยการทำกายภาพบำบัดนานหลายสัปดาห์ถึงหลายเดือน แต่ถ้าปล่อยไว้จนมีอาการรุนแรง (เช่น หลังแอ่น) แล้วโอกาสรอดก็น้อยลงมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าพบในทารกหรือผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีระยะฟักตัวของโรคสั้น มีไข้สูง หรือชักตลอดเวลาก็มีโอกาสมีอันตรายมากยิ่งขึ้น
โดยเฉลี่ย ผู้ป่วยโรคนี้มีอัตราตายประมาณร้อยละ50ส่วนบาดทะยักในทารกแรกเกิดมีอัตราตายประมาณร้อยละ 50 – 80
การป้องกัน
1.ฉีดวัคซีนรวมป้องกันคอตีบ บาดทะยัก และไอกรน (DTP) ตั้งแต่อายุได้ 2 เดือน ถ้าไม่เคยฉีดตอนเด็ก ควรฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักให้ครบตามกำหนดและควรฉีดกระตุ้นทุก ๆ 10 ปี
2.สำหรับหญิงตั้งครรภ์ หากไม่เคยได้รับ
วัคซีนป้องกันบาดทะยักมาก่อน ควรฉีดวัคซีนรวม 3 เข็ม โดยเริ่มฉีดเข็มแรกเมื่อฝากครรภ์ครั้งแรก เข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 1 เดือน และเข็มที่ 3 ห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 6 เดือน (ถ้าฉีดไม่ทันขณะตั้งครรภ์ ก็ให้ฉีดหลังคลอด) จากนั้นให้กระตุ้นทุก 10 ปี
หากเคยได้รับวัคซีนมาแล้ว 1 เข็ม ควรให้อีก 2 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 6 เดือน หากเคยได้รับวัคซีนมาแล้ว 2 เข็ม ควรให้อีก 1 เข็ม ห่างจากเข็มที่ 2 อย่างน้อย 6 เดือน จากนั้นให้กระตุ้นทุก 10 ปี
หากเคยได้รับวัคซีนมาก่อนอย่างน้อย 3 เข็มและเข็มสุดท้ายนานกว่า10 ปี ให้ฉีดกระตุ้นอีกเพียง 1 เข็ม จากนั้นให้กระตุ้นทุก 10 ปี
3.ควรแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์คลอดกับบุคลากรที่รู้จักรักษาความสะอาดในการทำคลอด ถ้าจำเป็นต้องคลอดกันเองที่บ้าน ควรใช้กรรไกรที่ผ่านกรรมวิธีในการฆ่าเชื้อตัดสายสะดือเด็ก นอกจากนี้ควรแนะนำให้รู้จักทำความสะอาดสะดือเด็กอย่างถูกต้อง
4.เมื่อมีบาดแผลตะปูตำ หนามตำ สัตว์กัด
ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือบาดแผลสกปรก ควรชะล้าง บาดแผลด้วยน้ำสะอาดกับสบู่ทันที และพิจารณาให้ฉีดยาป้องกันบาดทะยักตามตารางด้านบน
Ambulance call
1669
Available 24 Hours
Are you five-star healthcare provider?
list your practice
to reach million of patient