อัมพาตเบลล์ /เบลล์พัลซี (Bell’s palsy/ldiopathic facial paralysis)
อัมพาตเบลล์ (เบลล์พัลซี) หมายถึง อาการอัม-พาตของกล้ามเนื้อใบหน้าเพียงซีกใดซีกหนึ่ง โดยไม่ปรากฏสาเหตุให้เห็นชัดเจน
พบได้ประมาณ 20-30 รายต่อประชากร 100,000 คนต่อปี
หญิงตั้งครรภ์มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้มากกว่าคนทั่วไปประมาณ 3 เท่า และมักพบในระยะไตรมาส ที่ 3
นอกจากนี้ยังอาจพบได้บ่อยในผู้ป่วย
เบาหวาน และผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ
สาเหตุ
เกิดจากเส้นประสาทสมองเส้นที่ 7 หรือประสาทใบหน้า (facial nerve) ที่มีมาเลี้ยงกล้ามเนื้อใบหน้าไม่ทำงานทำให้กล้ามเนื้อใบหน้าครึ่งซีกอ่อนแรง โดยไม่ปรากฏสาเหตุให้เห็นชัดเจน ปัจจุบันเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อไวรัสเริมชนิด1 (HSV-1) และ
เชื้อไวรัสงูสวัด (herpes zoster virus)
การรักษา
1. ถ้ามีอาการอัมพาตของแขนขาซีกใดซีกหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นฉับพลันร่วมด้วย ควรส่งโรงพยาบาลด่วน
2. ในกรณีที่มีอาการอัมพาตของใบหน้าครึ่งซีกเกิดขึ้นฉับพลัน ไม่ว่าจะมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย หรือไม่ก็ตามควรส่งโรงพยาบาลภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อตรวจหาสาเหตุให้แน่ชัด หากจำเป็นอาจต้องทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น การถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การตรวจคลื่นไฟฟ้าประสาท (electroneurography) การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (electromyography) การตรวจเชื้อไวรัส
เริมและงูสวัด เป็นต้น
การรักษา แพทย์จะให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ
ถ้าพบว่าเป็นอัมพาตเบลล์มักจะให้ยาลดการอักเสบและการบวมของเส้นประสาทใบหน้า ได้แก่ เพร็ดนิโซโลน ขนาด 1 มก./วัน (ขนาดสูงสุด 60 มก./วัน) วันละครั้ง นาน 5 วัน (ในรายที่มีอาการอัมพาตไม่เต็มที่) หรือ10 วัน (ในรายที่มีอาการอัมพาตเต็มที่) แล้วจึงค่อย ๆ
ลดขนาดยาลงทีละน้อย จนหยุดภายใน 5 วัน ไม่ควรหยุดยาทันที โดยไม่มีการค่อย ๆ ลดขนาดยาลง อาจทำให้เส้นประสาทบวมอาการกำเริบได้
ในรายที่ตรวจพบว่ามีการติดเชื้อไวรัสเริมหรือ งูสวัด แพทย์อาจพิจารณาให้ยาต้านไวรัสร่วมด้วย ได้แก่ อะไซโคลเวียร์ ครั้งละ 400 มก.วันละ 5 ครั้ง หรือวาลาไซโคลเวียร์ (valacyclovir) ครั้งละ 500 มก.วันละ 3 ครั้ง นาน 7 วัน ยานี้ควรให้ภายใน 72 ชั่วโมง หลังจากเริ่มมีอาการจะได้ผลดี
นอกจากนี้ แพทย์อาจให้การรักษาอื่นๆ เช่น ในรายที่มีอาการปิดตาไม่มิด จะให้น้ำตาเทียม หรือน้ำเกลือนอร์มัลหยอดตา ป้องกันไม่ให้ตาแห้ง เป็นแผลหรืออาจให้ยาป้ายตาที่เข้ายาปฏิชีวนะป้ายตา วันละ 2-3 ครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้
กระจกตาอักเสบ และ อาจใช้ผ้าก๊อชปิดตาไว้เพื่อป้องกันฝุ่นหรือแมลงเข้าตา
บางรายแพทย์อาจพิจารณาให้การรักษาทางกายภาพบำบัด เช่น การนวด การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า เป็นต้น
ผลการรักษา ส่วนใหญ่มักจะฟื้นตัวได้ภายใน 2-3 สัปดาห์ และหายได้สนิทภายใน 4-6 เดือน ประมาณร้อย
Ambulance call
1669
Available 24 Hours
Are you five-star healthcare provider?
list your practice
to reach million of patient