การรักษา
หากสงสัย เช่น ทารกมีพัฒนาการช้า แขนขาเคลื่อนไหวผิดปกติ ควรส่งไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาล
แพทย์มักจะวินิจฉัยจากอาการแสดงและการตรวจร่างกายและพัฒนาการของเด็กเป็นหลัก ในรายที่แยก จากสาเหตุอื่นไม่ได้ชัดเจน อาจต้องทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น ถ่ายภาพสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ตรวจคลื่นสมอง ตรวจหาความผิดปกติทางกรรมพันธุ์และโรคทางเมตาบอลิซึม(metabolic disorders) เป็นต้น
ถ้าเป็นโรคนี้จริง มักจะต้องให้การรักษาทางกาย-ภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัด การใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน การฝึกพูดและแก้ไขความผิดปกติเกี่ยวกับสายตาและ การได้ยิน เพื่อให้เด็กสามารถช่วยตัวเองได้มากที่สุด
ส่วนยาที่ให้จะเป็นกลุ่มยาที่ใช้ควบคุมอาการที่พบร่วม เช่น ถ้ามีอาการชักก็ให้การรักษาแบบโรคลมชัก ถ้าแขนขามีอาการเกร็งหรือเคลื่อนไหวผิดปกติ ก็ให้ยาลดอาการ เช่น ไดอะซีแพม ไตรเฮกซีเฟนิดิล (trihexyphenidyl) ซึ่งมีชื่อการค้า เช่น อาร์เทน (Artane) ยากลุ่มเลโวโดฟา (levodopa) เป็นต้น
บางรายแพทย์อาจฉีดสารโบทูลิน (มีชื่อการค้า เช่น Botox) เพื่อลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ หรืออาจต้องผ่าตัดแก้ไขความพิการและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ
ผลการรักษาขึ้นกับลักษณะอาการและความรุนแรงของโรค ในรายทีเป็นรุนแรงมักมีอายุสั้น
ถ้ามีอาการแขนขาเกร็งทั้ง 4 ข้าง มักมีอาการชักและปัญญาอ่อนร่วมด้วย อาจเดินไม่ได้หรือช่วยเหลือ ตัวเองได้น้อย
ในรายที่มีอาการเกร็งของขา 2 ข้าง หรือแขนขาซีกหนึ่งมักจะมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงน้อยกว่ารายที่มีแขนขาเกร็งทั้ง 4 ข้าง การทำกายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด และการใช้อุปกรณ์ช่วย มักจะได้ผลดี
โดยทั่วไปถ้าเด็กสามารถนั่งได้เมื่ออายุ 2 ปี ผลการรักษาค่อนข้างดี ถ้าพ้นอายุ 4 ปีแล้วยังนั่งไม่ได้ ผู้ป่วยก็มักจะเดินไม่ได้
ในรายที่เป็นไม่มาก และไม่มีความบกพร่องทางเชาว์ปัญญา มักจะสามารถเรียนหนังสือและประกอบ อาชีพได้เช่นคนปกติ บางรายอาจมีความฉลาดและประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานเป็นอย่างดี
การป้องกัน
เนื่องจากส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ จึงหาทางป้องกันได้ค่อนข้างยาก ส่วนที่ทราบสาเหตุแน่ชัด ก็อาจป้องกันได้โดยการปฏิบัติดังนี้
- ก่อนตั้งครรภ์ ควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงบำรุงอาหารสุขภาพ ควบคุมโรคเรื้อรัง (เช่น เบาหวานความดันโลหิตสูง)ให้ได้ผลควรฉีดวัคซีนป้องกันหัดเยอรมัน
- เมื่อตั้งครรภ์ ควรฝากครรภ์ และดูแลครรภ์ตามคำแนะนำของแพทย์) หลีกเลี่ยงสิ่งอันตราย (เช่น ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่) และคลอดที่สถานพยาบาลที่มีความพร้อม
- เมื่อพบว่าทารกแรกเกิดมีอาการตาเหลือง ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็ว
- ทารกและเด็กเล็ก ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคตามตารางกำหนด ควรระวังป้องกันอุบัติเหตุต่าง ๆ และเมื่อมีอาการเจ็บป่วยควรรีบดูแลรักษาอย่างถูกต้อง
Ambulance call
1669
Available 24 Hours
Are you five-star healthcare provider?
list your practice
to reach million of patient