การรักษา
1. หากสงสัย ลองให้ผู้ป่วยงดบริโภคนมและผลิตภัณฑ์จากนมเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ถ้าหายเป็นปกติก็มักจะเป็นโรคนี้จริง และให้การดูแลรักษาดังนี้
- สำหรับผู้ป่วยที่เคยดื่มนมได้แต่เกิดภาวะพร่องแล็กโทสหลังเป็นโรคติดเชื้อ เมื่อรักษาจนโรคติดเชื้อหายดีแล้ว เยื่อบุลำไส้มักจะฟื้นตัวและสร้างแล็กเทสได้เป็นปกติภายใน 3-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยก็สามารถกลับมาบริโภคนมได้เหมือนเดิม
- สำหรับผู้ที่มีภาวะพร่องแล็กเทสเรื้อรัง (เป็นโดยกำเนิดหรือเกิดจากสาเหตุที่แก้ไขไม่ได้) อาการท้องเดินมักจะกำเริบหลังบริโภคนมทุกครั้ง ก็แนะนำให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวดังนี้
- ดื่มนมครั้งละน้อย (น้อยกว่า 200 มล.) หรือดื่มพร้อมอาหารมื้อหลัก หรือบริโภคโยเกิร์ต (ซึ่งผ่านการย่อยจากแบคทีเรียมาระดับหนึ่งแล้ว) ก็อาจไม่ทำให้เกิดอาการได้หรือลดอาการให้น้อยลงได้
- ถ้าไม่ได้ผลให้ผู้ป่วยบริโภคถั่วเหลืองเต้าหู้น้ำเต้าหู้ ในทารกอาจให้กินนมถั่วเหลือง มีชื่อการค้า เช่น โพรโซบี (Prosobee) ไอโซ มิล (Isomil) แนนซอย (Nan Soy) เป็นต้น
- ในรายที่จำเป็นต้องงดบริโภคนมโดยเด็ดขาด ควรบริโภคโปรตีน แคลเซียม และสารอาหารอื่นๆ ที่มีอยู่ในนม จากแหล่งอาหารอื่น (เช่น ไข่ ปลา เนื้อสัตว์ งา ถั่วต่างๆ เต้าหู้ ปลาเล็กปลาน้อย ปลากระป๋อง ผักใบเขียน) ถ้าจำเป็นอาจให้กินยาเม็ดแคลเซียมเสริม เพื่อการสร้างกระดูก (การเจริญเติบโตขอร่างกายเด็ก) และป้องกันภาวะกระดูกพรุน (ในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ)
- ในรายที่ต้องการบริโภคนมและผลิตภัณฑ์จากนมต่อไป อาจต้องให้กินเอนไซม์แล็กเทส (ในรูปของยาเม็ด) ควบคูไปด้วย ซึ่งจะป้องกันไม่ให้เกิดอาการได้
2.ในรายที่มีอาการเรื้อรังและไม่แน่ใจการวินิจฉัย ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชียวชาญ เพื่อทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติม ส่วนใหญ่จะทำการตรวจระดับไฮโดรเจนในลมหายใจ (hydrogen breath test) ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะพบว่ามีค่าสูงกว่าปกติ ส่วนทารกและเด็กเล็กอาจทำการตรวจหาระดับความเป็นกรดในอุจจาระ (stool aciditytest) ซึ่งจะพบว่าสูงกว่าปกติ
Ambulance call
1669
Available 24 Hours
Are you five-star healthcare provider?
list your practice
to reach million of patient