อาการ
ขึ้นกับตำแหน่งที่ติดเชื้ออายุภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยและชนิดของเชื้อถ้าเป็นการติดเชื้อครั้งแรก (ในผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อนี้มาก่อน) มักมีอาการทั่วไป (เช่นไข้ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อย) ร่วมด้วย มีรอยโรค ระยะเวลาของอาการแสดง และภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่าการติดเชื้อซ้ำ
ในที่นี้จะขอกล่าวถึงอาการของโรคเริมที่พบได้ บ่อยดังนี้
1. เริมที่ผิวหนัง ส่วนใหญ่จะพบการติดเชื้อซ้ำ(reactivation) บริเวณรอยโรคมักมีอาการปวดแสบปวดร้อน หรือปวดเสียวนำมาก่อน - 48 ชั่วโมง (ถ้าเป็นที่บริเวณขา สะโพก หรือก้น อาจมีอาการปวดแปลบนำ มาก่อนประมาณ 1-5 วัน) แล้วมีตุ่มน้ำใสขนาด 2-3 มม.ขึ้นอยู่กันเป็นกลุ่มโดยรอบจะเป็นผื่นแดง ต่อมาตุ่มน้ำใสนี้จะกลายเป็นสีเหลืองขุ่นแล้วแตกกลายเป็นสะเก็ดหายไปได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ (เร็วสุด 3 วัน)
ด้วยลักษณะของตุ่มน้ำใสที่อยู่กันเป็นกลุ่มแบบนี้ชาวบ้านบางแห่งจึงเรียกโรคนี้ว่า
ขยุ้มตีนหมา
ตำแหน่งที่พบบ่อยได้แก่ ริมฝีปาก แก้ม จมูก หู ตา กัน อวัยวะเพศ ผื่นมักจะขึ้นที่ตำแหน่งที่เคยขึ้นอยู่เดิมหรือในบริเวณใกล้เคียง
ในกรณีที่เป็นการติดเชื้อครั้งแรกมักมีอาการอักเสบที่รุนแรงกว่า บริเวณรอยโรคจะมีลักษณะบวมและ เจ็บ ระยะจะขึ้นเป็นตุ่มน้ำใส ต่อมาจะดูคล้ายเป็นตุ่มหนองหรือฝี (ภายในเป็นน้ำและเซลล์ผิวหนังที่ตาย) เรียกว่า
ตะมอยเริม (herpetic whitlow) ซึ่งจะเป็นอยู่นาน 7-10 วัน ส่วนน้อยอาจมีอาการไข้และต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงอักเสบร่วมด้วย
พบบ่อยที่นิ้วชี้รองลงมาคือนิ้วหัวแม่มือบางรายอาจพบที่บริเวณฝ่ามือ
ในทารกและเด็กเล็กมักเกิดจากการดูดนิ้วในขณะที่มีการติดเชื้อเริมในปาก หรือเกิดจากการจูบมือของ ผู้ใหญ่ที่เป็นเริมในปาก
ในผู้ใหญ่อาจเกิดจากการสัมผัสระหว่างมีเพศสัมพันธ์หรือการต่อสู่ (เช่น นักมวยปล้ำซึ่งอาจมีรอยโรคที่หน้า คอ ลำตัว แขนขา) และบุคลากรทางการแพทย์อาจติดจากการสัมผัสสิ่งคัดหลั่งจากผู้ป่วยเริม
2. เริมในช่องปาก (herpertic gingivostomatitis) เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุดของการติดเชื้อเริมชนิดที่ 1 เป็นครั้งแรกพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่มีระยะฟักตังของโรค 2-3 วัน(อาจนานถึง 20 วัน)
ในกรณีติดเชื้อครั้งแรก ผู้ป่วยจะเป็น
เริมในช่อง ปากชนิดเฉียบพลัน ซึ่งมีอาการดังนี้
เด็กเล็ก จะมีไข้ ร้องกวนไม่ดูดนมไม่กินอาหารมีตุ่มน้ำพุขึ้นที่เยื่อบุของริมฝีปากเหงือก ลิ้น และเพดานปาก แล้วแตกเป็นแผลตื้นสีเทาบนพื้นสีแดงขนาด 1-3 มม.มักมีอาการเหงือกบวมแดงซึ่งบางครั้งอาจมีเลือดซึมและมีกลิ่นปาก เด็กอาจมีภาวะขาดน้ำเนื่องจาก ดื่มนมและน้ำได้น้อย มักตรวจพบต่อมน้ำเหลืองใต้คางโตและเจ็บ อาการต่างๆ จะเป็นมากในช่วงประมาณ 4-5 วันแรก และแผลมักหายได้เองภายใน 10-14 วัน
เด็กโตและผู้ใหญ่ ระยะแรกจะมีอาการเจ็บคอซึ่งตรวจพบหนองที่ผนังคอหอยหรือแผลบนทอนซิล ต่อมาจะพบแผลที่ลิ้น กระพุ้งแก้มและเหงือก อาจมีอาการไข้ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัวร่วมด้วย อาการ ต่างๆ มักหายได้เองภายใน 7-10 วัน
ผู้ป่วยที่เป็นเริมในช่องปากเมื่อหายแล้วเชื้อมัก หลบซ่อนอยู่ที่ปมประสาทของสมองคู่ที่ 5 (trigeminalganglion) ต่อมาเชื้ออาจแบ่งตัวเจริญเติบโตทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำ ส่วนใหญ่จะเกิดเป็นแผลเริมที่ริมฝีปาก เรียกว่า
เริมที่ริมฝีปาก (herpes labialis บางครั้งเรียก ว่า fever blisters หรือ cold sores) มักมีตุ่มน้ำเล็กๆ พุขึ้นเป็นกลุ่มที่บริเวณริมฝีปาก แล้วแตกกลายเป็นแผลตกสะเก็ดอยู่ 2-4 วันก่อนมีตุ่มขึ้นเพียงไม่กี่ชั่วโมงถึงหลายวันอาจมีอาการปวดแสบหรือคันบริเวณรอยโรค
บางรายอาจเกิดแผลเปื่อยในช่องปาก เรียกว่า
เริมในช่องปากชนิดเป็นซ้ำ (recurrent intraoral herpes simplex) มักมีแผลเดียวเกิดขึ้นที่เหงือก หรือเพดาน แข็งโดยแรกเริ่มขึ้นเป็นตุ่มน้ำเล็กๆ แล้วแตกเป็นแผลลักษณะเป็นสะเก็ดสีเหลืองปกคลุมอยู่บนพื้นสีแดง เมื่อลอกออกจะกลายเป็นแผลตื้นสีแดง
บางรายอาจมีแผลเริมขึ้นที่ใบหน้าหรือจมูก
แผลเริมเหล่านี้มักหายได้เองภายใน 5-10 วัน แต่ต่อมาอาจกำเริบซ้ำได้อีก อาการมักกำเริบเวลามีประจำเดือนถูกแดดเครียด ได้รับการกระทบกระเทือนเฉพาะที่ (เช่น ถอนฟัน ผ่าตัดที่บริเวณใบหน้า) เวลาเป็นไข้หวัด หรือเป็นไข้ (เช่น ทอนซิลอักเสบ ปอดอักเสบ มาลาเรียไข้กาฬหลังแอ่น สครับบไทฟัส เป็นต้น)
3. เริมที่อวัยวะเพศ (herpes genitalis) ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเริมชนิดที่ 2 ส่วนน้อยเกิดจากเชื้อไวรัสเริมชนิดที่1
ถ้าเป็นการติดเชื้อครั้งแรกจะมีระยะฟักตัว 2-10 วัน ผู้ป่วยมักมีไข้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย และเกิดผื่นตุ่มขึ้นที่บริเวณอวัยวะเพศ โดยมีอาการแสบๆ คันๆ นำมาก่อน (ในผู้ชายอาจขึ้นที่หนังหุ้มปลายองคชาตที่ตัวหรือปลายองคชาต ถุงอัณฑะต้นขา กัน รอบทวารหนัก หรือในท่อปัสสาวะ ส่วนผู้หญิงอาจขึ้นที่ปากช่องคลอดก้น รอบทวารหนัก ในช่องคลอด หรือที่ปากมดลูก) ลักษณะเป็นตุ่มนูน ตุ่มน้ำ หรือแผลแดงๆ คล้ายรอยถลอก อาจมีอาการเจ็บหรือคัน ต่อมาจะแห้ง อาจมีสะเก็ดหรือไม่มีก็ได้ แล้วหายไปได้เองโดยอาจเป็นอยู่นาน 2-3 สัปดาห์
ผู้ป่วยอาจมีอาการปัสสาวะแสบชัด หนองไหล จากช่องคลอดและท่อปัสสาวะ ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบโตและเจ็บร่วมด้วย
นอกจากนี้ยังอาจพบรอยโรคที่ก้น ขาหนีบ หน้า ขา นิ้วมือ หรือตา ซึ่งมักเกิดในสัปดาห์ที่ 2
หลังจากอาการหายแล้ว เชื้ออาจหลบซ่อนอยู่ที่ ปมประสาท แล้วต่อมาจะมีการติดเชื้อซ้ำเป็นๆ หาย ๆ อยู่บ่อย ๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 6 เดือนแรกหลังติดเชื้อครั้งแรก อาจเกิดขึ้นบ่อยและค่อยๆ ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป อาการมักกำเริบเวลาร่างกายทรุดโทรม เครียดมีประจำเดือนหรือมีการเสียดสี (เช่น มีเพศสัมพันธ์)
ในการติดเชื้อซ้ำ ผู้ป่วยจะมีอาการแสบๆ คันๆบริเวณที่เป็นรอยโรค (รวมทั้งต้นขาด้านในหรือก้น) นำมาก่อนต่อมาจะพุขึ้นเป็นตุ่มน้ำใสเล็กๆ หลายตุ่ม อยู่กันเป็นกลุ่มที่อวัยวะเพศ มักขึ้นตรงตำแหน่งเดิมที่เคย เป็นอาจมรอาการปัสสาวะแสบขัด ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบโตและเจ็บ ตุ่มมักจะตกสะเก็ดภายใน 4-5 วัน แล้วหายไปได้เองภายใน 10 วัน บางรายอาจมีไข้และอ่อนเพลียร่วมด้วย
บางรายอาจมีการติดเชื้อซ้ำโดยไม่มีอาการ แต่จะปล่อยเชื้อออกมาแพร่ให้ผู้อื่นได้
ในเด็กที่เป็นเริมในช่องปากอาจมีภาวะขาดน้ำ เนื่อง จากดื่มนมและน้ำไม่ได้
ถ้าเริมขึ้นที่บริเวณตาอาจทำให้กระจกตาอักเสบ (keratitis) ถึงกับทำให้สายตาพิการได้
เชื้อไวรัสเริมชนิดที่ 1 อาจเข้าไปที่ประสาทใบหน้า (facial nerve) ทำให้เส้นประสาทอักเสบ กลายเป็นอัมพาตใบหน้าครึ่งซีกหรืออัมพาตเบลล์ ได้
ผู้หญิงที่เป็นเริมที่อวัยวะเพศ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก
นอกจากนี้ยังอาจพบภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ซึ่งมักพบในทารกแรกเกิด หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ (เช่น ผู้ป่วยหลังได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะหรือเคมีบำบัด ขาดอาหาร มีบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกผู้ป่วยเอดส์หรือกินยาสตีรอยด์นานๆ) เด็กที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบจาก
ภูมิแพ้ เป็นต้น
ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่อาจพบได้ เช่น
- ในเด็กที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ เมื่อติดเชื้อเริม อาจมีผื่นตุ่มขึ้นแบบกระจายทั่วไป ซึ่งอาจรุนแรงถึงเสียชีวิต
ได้เรียกว่า “Eczema herpeticum ”
- การติดเชื้อเริมชนิดแพร่กระจาย(disseminated infection) ซึ่งพบในทารกแรกเกิด ผู้ที่มีบาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกผู้ที่ใช้ สตีรอยด์นานๆ หรือมีภูมิคุ้มกันต่ำทำให้มีผื่นตุ่มกระจายทั่วไป ตุ่มพองใหญ่และมีเลือดออกอยู่ภายในตุ่มและเชื้อแพร่กระจายไปสู่อวัยวะต่างๆ เช่น สมอง ปอด ระบบทางเดินอาหาร ตับ ม้าม ไต ต่อม หมวกไต ไขกระดูก เป็นต้น เกิดอาการรุนแรงถึงเสียชีวิตได้บางรายอาจมีเนื้อเยื้อคอรอยด์แลจอตาอักเสบ (chorioretiniteis) ทำให้ตาบอดได้
- สมองอักเสบ ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเริมชนิดที่ 1 พบมากในทารกแรกเกิด ผู้ป่วยอายุ 5-30 ปี และอายุเกิน 50 ปีมีอัตราตายสูง
- เยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดอะเซปติก (asepticmeningitis) ซึ่งพบเป็นภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อวรัสเริมชนิดที่ 2 ครั้ง แรกที่อวัยวะเพศ อาการมักทุเลาภายในไม่กี่วัน และหายได้เองโดยไม่มีความพิการหลงเหลือ
- หลอดอาหารอักเสบ ซึ่งพบในผู้ป่วยเอดส์ และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บขณะกลืน กลืน ลำบาก น้ำหนักลด
- ตับอักเสบ ซึ่งมักจะไม่รุนแรงในผู้ป่วยที่มีภูมิ คุ้มกันแข็งแรง แต่ถ้าพบในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำหรือหญิงตั้งครรภ์ ก็อาจกลายเป็นตับอักเสบชนิดเร็วร้าย (fulminant hepatitis) ได้
- การติดเชื้อเริมในผู้หญิงตั้งครรภ์ อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ทารกเป็นโรคเริมแต่กำเนิด ซึ่งเกิดจากเชื้อเริมได้ทั้ง 2 ชนิด ทำให้ทารกน้ำหนักน้อย ศีรษะ เล็ก ชัก ปอดอักเสบ ตับโต ตาเล็ก ต้อกระจก เนื้อเยื่อคอรอยด์และจอตาอักเสบ มีผื่นตุ่มตาม ผิวหนังหรือ นิ้วมือ ถ้ามารดาติดเชื้อเริมในไตรมาสสุดท้าย อาจทำให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า หรือคลอดก่อนกำหนด
ถ้ามารดาเป็นโรคเริมที่ช่องคลอดหรือปากมดลูกในระยะใกล้คลอด อาจทำให้ทารกติดเชื้อขณะคลอดกลายเป็นโรคชนิดรุนแรง เช่นโรคเริมชนิดแพร่กระจาย สมองอักเสบ กระจกตาอักเสบ จอตา อักเสบ เป็นต้น
การรักษา
ถ้ามีอาการแสดงชัดเจนก็ให้การรักษาตามอาการ (เช่น ยาแก้ปวดลดไข้พาราเซตามอล ให้สารน้ำในรายที่มีภาวะขาดน้ำ) ร่วมกับยาต้านไวรัส ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงของโรค ช่วยให้หายเร็วขึ้น และลดโอกาสการแพร่เชื้อให้ผู้อื่น แต่มักไม่มีผลในการป้องกันการกำเริบซ้ำ
ในรายที่อาการไม่ชัดเจนควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการวินิจฉัย โดยการตรวจหาเชื้อด้วย วิธีต่างๆ เช่น การขูดแผลนำเนื้อเยื่อไปย้อมสี การตรวจหาสารก่อภูมิต้านทาน (แอนติเจน) หรือดีเอ็นเอ ของเชื้อเริมจากแผลหรือสิ่งคัดหลั่ง การทดสอบทาง น้ำเหลืองเพื่อหาระดับสารภูมิต้านทาน (แอนติบอดี) เป็นต้น
การรักษา ที่สำคัญคือการให้ยาต้านไวรัส ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติดังนี้
1.ในรายที่สงสัยมีภาวะแทรกซ้อน (เช่น สมองอักเสบ เยื่อสมองอักเสบ ตับอักเสบ) มีการติดเชื้อในทารกแรกเกิด หรือเป็นโรคเริมชนิดแพร่กระจาย ควรส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว แพทย์จะรับตัวผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล และให้อะไซโคลเวียร์ (acyclovir) ฉีดเข้าหลอดเลือดดำนาน 10-14 วัน
2.ในรายที่มีเริมขึ้นที่บริเวณตาควรปรึกษาจักษุแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมง ถ้าพบว่ามี
กระจกตาอักเสบจากเชื้อเริม (herpetic keratitis) ก็จะให้ยาต้านไวรัส ชนิดหยอดตาหรือป้ายตา เช่น ยาหยอดตาไตรฟลูริดีน (trifluridine) ชนิด 1% หยอดวันละ 9 ครั้ง (ประมาณ ทุก 2 ชั่วโมง) ครั้งละ 1 หยด หรือขี้ผึงป้ายตาไวดาราบีน (vidarabine) ชนิด 3% ป้ายวันละ 5 ครั้ง นาน 21 วัน ในรายที่เป็นรุนแรงอาจต้องให้อะไซโคลเชียร์ กินครั้งละ 200-400 มก.วันละ 5 ครั้ง นาน 10 วัน
3.สำหรับการติดเชื้อเริมครั้งแรกในช่องปาก หรืออวัยวะเพศ ให้อะไซโคลเวียร์กินครั้งละ 200 มก.วันละ 5 ครั้ง ทุก4 ชั่วโมง (เว้นช่วงนอนหลับตอนดึก) หรือ ครั้งละ 400 มก.วันละ 3 ครั้ง ทุก 8 ชั่วโมง นาน 10-14 วัน(เด็กที่เป็นเริมในช่องปากให้กิน อะไซโคลเวียร์ในขนาด 15 มก./กก. วันละ 5 ครั้ง นาน 7 วัน)
4. สำหรับการติดเชื้อเริมซ้ำในบริเวณช่องปาก (ริมฝีปากด้านนอก เหงือก หรือเพดานปาก) หรืออวัยวะเพศให้อะไซโคลเวียร์กินครั้งละ 400 มก.วันละ 3 ครั้ง ทุก 8 ชั่วโมง นาน 5 วัน
5.สำหรับผู้เป็นเริมที่อวัยวะเพศซ้ำบ่อยๆ (มากกว่าปีละ 6 ครั้ง) ให้อะไซโคลเวียร์กินครั้งละ 400 มก.วันละ 2 ครั้ง ทุกวันติดต่อกันอย่างน้อย 1 ปี จะลดอัตรา การเป็นซ้ำ และลดการแพร่เชื้อของผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการ
6. สำหรับผู้ที่ติดเชื้อเริมครั้งแรกที่บริเวณทวารหนักให้อะไซโคลเวียร์กินครั้งละ 400 มก.วันละ 5 ครั้ง นาน 10-14 วัน
7. สำหรับผู้ที่เป็นตะมอยเดิมเริมให้อะไซโคลเวียร์กินครั้งละ 400 มก.วันละ 3 ครั้ง นาน 7 วัน
8. ผู้ป่วยโรคเริมที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ แพทย์จะให้ยาต้านไวรัสชนิดอื่น เช่น ฟามซิโคลเวียร์ (famciclovir) กินครั้งละ 250 มก.หรือ วาลาไซโคลเวียร์ (valaciclovir) กินครั้งละ 500 วันละ 3 ครั้ง นาน 7-10 วัน
9. ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อเริมครั้งแรกที่ช่องคลอดหรือปากมดลูกในระยะใกล้คลอด แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง เพื่อป้องกันไม่ให้ทารกติดเชื้อขณะคลอดผ่านทางช่องคลอด
การป้องกัน
เนื่องจากผู้ที่ติดเชื้อเริม (โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดเชื้อซ้ำ) มักไม่มีอาการแสดง แต่สามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ โดยเชื้ออาจมีอยู่ในน้ำตา น้ำลาย คอหอย อวัยวะเพศ ทวารหนัก ท่อปัสสาวะการป้องกันการติดเชื้อเริมจึงเป็นเรื่องค่อนข้างยาก เพราะไม่มีทางแยกออกได้ว่าใครบ้างที่เป็นผู้
ติดเชื้อ
อย่างไรก็ตาม เพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อควรปฏิบัติดังนี้
- หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของเครื่องใช้ (เช่น จานชาม แก้วน้ำ มีดโกน ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า) ร่วมกับผู้อื่น
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยที่มีตุ่มตามผิวหนัง
- หรือเยื่อเมือก หรือผู้ที่มีแผลเปื่อยในช่องปาก
- หลีกเลี่ยงการเที่ยวหญิงบริการ และมีเพศ สัมพันธ์กับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่คู่ครอง ถ้าเสี่ยงไม่ได้ให้ใช้ ถุงยางอนามัย และหลีกเลี่ยงการสัมผัสที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่นการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก (oralgenitalcontact)
Ambulance call
1669
Available 24 Hours
Are you five-star healthcare provider?
list your practice
to reach million of patient