การรักษา
หากสงสัยควรแนะนำผู้ป่วยไปโรงพยาบาล เพื่อทำ การตรวจภายในช่องคลอด และทำการตรวจพิเศษอื่น ๆ เช่น การตรวจอัตราซาวนด์ การถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การใช้กล้องส่อง ตรวจช่องท้อง (laparoscopy ซึ่งสามารถตัดชิ้นเนื้อส่งพิสูจน์ได้) เป็นต้น
การรักษา แพทย์ให้การรักษาเพื่อบรรเทาอาการปวด ยับยั้งไม่ให้โรคลุกลาม และส่งเสริมการมีบุตรโดยมีแนวทางดังนี้
1.ในรายที่มีอาการเพียงเล็กน้อย จะให้ยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ ทรามาดอล เป็นต้น กินเป็นครั้งคราวเวลามีอาการปวด และนัดมาติดตามดูอาการเป็นระยะ
2. ในรายที่มีอาการรุนแรงปานกลางจะให้ยา ฮอร์โมนเพื่อหยุดการเจริญของเยื่อบุมดลูกที่โปงอก ผิดที่เป็นการยับยั้งไม่ให้โรคลุกลามมากขั้น(ไม่ได้ช่วยให้หายขาด) ยาฮอร์โมนอาจเลือกให้ขนาดใดขนานหนึ่ง ดังนี้
- ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรวม (เอสโทรเจนกับโพรเจสเทอโรน) เริ่มจากวันละ 1 เม็ด และเพิ่มขึ้นครั้งละ 1 เม็ดทุกครั้งที่มีเลือดออกกะปริดกะปรอย (มักไม่ เกิน 3 เม็ด/วัน) ใช้ติดต่อกันนาน 6-9 เดือน ใน 3-4 เดือนแรกอาจมีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื้อบุมดลูก อาจ ทำให้รู้สึกอาการเลวลงแต่หลังจากนั้นอาการจะดีขึ้น
- โพรเจสเทอโรน เช่น depot medroxyprogesterone acetate/DMPA (ยาฉีดคุมกำเนิด) 100 -150 มก.ฉีดเข้ากล้ามทุก 2 สัปดาห์จนครบ 4 ครั้ง หลังจากนั้นฉีดทุกเดือนจนครบ 9 เดือน อาจใช้ medroxyprogesterone acetate ชนิดกิน 30 มก./วัน แทนก็ได้
- ดานาซอล (danazol)* ซึ่งเป็นยากดการทำงานของรังไข่โดยมีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่ง gonadotropin realeasing hormone และ/หรือ gonadotropins มีผลทำให้ร่างกายขาดฮอร์โมนเอสโทรเจนและโพรเจสเทอโรนทำให้เยื่อบุมดลูกต่างที่หยุดการเจริญ โดยเริ่มให้กินขนาด 400 มก./วัน ก่อน เมื่อมีเลือดออกให้เพิ่มครั้งละ 200 มก.(สูงสุดไม่เกิน 800 มก./วัน) นาน 6-9 เดือน
- ยากระตุ้น gonadotropin realeasing hor mone ซึ่งเมื่อใช้นาน ๆ จะมีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่ง gonadotropins ทำให้หยุดการเจริญของเยื่อบุมดลูกต่างที่ เช่น depot leuprorelin acetate 3.75 มก.ฉีดเข้ากล้ามเนื้อเดือนละครั้ง นาน 6 เดือน ยานี้มีผลข้างเคียงที่เกิดจากการขาดเอสโทรเจน ทำให้มีอาการออกร้อนซู่ซ่าตามผิวกาย ช่องคลอดแห้ง
3. ในรายที่เป็นรุนแรงมาก ใช้ยาฮอร์โมนบำบัดไม่ได้ผล หรือต้องการมีบุตร ก็อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
ในรายที่อายุมากและไม่ต้องการมีบุตรแล้ว แพทย์จะผ่าตัดเอามดลูกและรังไข่ทั้ง 2 ข้างออก เมื่อร่างกายขาดเอสโทรเจน เนื่องจากไม่มีรังไข่ที่ทำหน้าที่ สร้างฮอร์โมนชนิดนี้ เยื่อบุมดลูกต่างที่ที่อาจหลงเหลือ อยู่ก็จะฝ่อลง ผู้ป่วยบางรายที่มีพังผืด มากอาจผ่าตัดเอา รังไข่ออกไม่หมด
เนื้อเยื่อรังไข่ที่คงเหลือไว้บางส่วน สามารถสร้างเอสโทรเจนออกมากระตุ้นให้เกิดเยื่อบุ มดลูกต่างที่ขึ้นมาภายหลังได้อีก
ในรายที่อายุไม่มากหรือยังต้องการมีบุตรแพทย์จะทำการผ่าตัดเฉพาะส่วนที่มีพยาธิสภาพออกให้ มากที่สุด เช่น ตัดเองถุงน้ำออก เลาะพังผืดที่ติดรั้งออก เป็นต้น โดยยังเก็บรักษามดลูก รังไข่ และท่อนำไข่ไว้ เพื่อให้มีบุตรได้ต่อไป การผ่าตัดชนิดนี้อาจทำได้ตามวิธี ดั้งเดิม (ผ่าตัดเปิดหน้าท้อง) หรือผ่าตัดโดยวิธีส่องกล้อง เข้าช่องท้อง (laparoscopic surgery) หลังผ่าตัดถ้าหาก มีเยื่อมดลูกต่างที่หลงเหลืออยู่ก็อาจกำเริบได้อีก เนื่องจากร่างกายยังมีรังไข่สร้างเอสโทรเจนออกมากระตุ้นให้เยื่อบุมดลูกเจริญได้ ซึ่งอาจจำเป็นต้องให้ยาฮอร์โมนรักษาต่อ
4.ในรายที่ต้องการมีบุตร แพทย์อาจให้การช่วยเหลือ เช่น การผสมเทียม การผ่าตัดแก้ไขพยาธิสภาพในอุ้งเชิงกราน เป็นต้น ส่วนจะได้ผลมากน้อยเพียงใดขึ้น กับความรุนแรงของโรค
การช่วยให้ตั้งครรภ์มีส่วนช่วยป้องกันไม่ให้อาการกำเริบและลดความรุนแรงได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไตรมาสที่ 2 และ3 เนื่องจากการเปลี่ยนแปลง ของฮอร์โมนในร่างกายอาการกำเริบและลดความรุนแรงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 เนื่องจากการเปลี่ยนแปลง ของฮอร์โมนในร่างกาย
Ambulance call
1669
Available 24 Hours
Are you five-star healthcare provider?
list your practice
to reach million of patient