ภาวะตั้งครรภ์ (Pregnancy)
แพ้ท้อง (Morning sickness)
ภาวะตั้งครรภ์ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของผู้ที่ตั้งครรภ์อย่างมากมาย เกิดภาวะเสี่ยงและ ภาวะแทรกซ้อนที่ต้องให้การดูแลรักษาเพื่อให้ลูกรอดแม่ปลอดภัย
ประมาณ 3 ใน 4 คน อาจมีอาการแพ้ท้องไม่มากก็น้อย ซึ่งจะเป็นมากในช่วงสัปดาห์ที่ 5-6 ของการตั้งครรภ์ และจะเป็นอยู่จนกระทั้งสัปดาห์ที่ 14-16 หลังจาก นั้นจะค่อย ๆ ทุเลาไปได้เอง
สาเหตุ
ภาวะตั้งครรภ์ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การโตขึ้นของมดลูกตามอายุครรภ์การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฮอร์โมนหลายชนิดที่รกสร้าง และการเปลี่ยน แปลงทางจิตใจและอารมณ์ ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ที่พบร่วมกันในหญิงตั้งครรภ์ และอาจทำให้เกิดโรคและภาวะผิดปกติในหญิงตั้งครรภ์บางราย
แพ้ท้อง สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าเป็นผล มาจากร่างกายมีระดับเอสโทรเจนและฮอร์โมนเอชซีจี (human chorionic gonadotropin/HCG ที่รกสร้าง) สูงนอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์กับภาวะจิตใจและอารมณ์ ซึ่งพบว่าผู้ที่มีอารมณ์อ่อนไหว เครียดวิตกกังวล จะมี อาการแพ้ท้องได้มาก
ผู้หญิงที่มีครรภ์แฝด หรือครรภ์ไข่ปลาอุก ก็อาจมีอาการแพ้ท้องได้มาก เชื่อว่าสัมพันธ์กับระดับ เอซซีจีที่สูง
ข้อแนะนำ
1.ควรอธิบายให้หญิงตั้งครรภ์เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ภาวะเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้ การดูแลรักษาครรภ์ และการปฏิบัติตัวต่าง ๆ การเตรียมตัวเตรียมใจในการคลอดและการเลี้ยง ดูทารก รวมทั้งประโยชน์และการเตรียมตัวในการเลี้ยง ทารกด้วยนมมารดา
2. สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้ท้อง ควรให้ความมั่นใจว่า อาการจะหายได้เองภายหลังตั้งครรภ์ได้ 14 -16 สัปดาห์ ควรแนะนำให้สามีและญาติเห็นใจให้กำลังใจดูแลช่วย เหลือผู้ป่วย
3. อาการอาเจียน นอกจากเกิดจากภาวะแพ้ท้องแล้วยังอาจมีสาเหตุจากโรคตับโรคติดเชื้อทางเดิน ปัสสาวะ ตับอ่อนอักเสบ กระเพาะลำไส้อุดกั้น โรคทาง กระเพาะลำไส้โรคทางสมอง เป็นต้น ถ้าหากมีอาการ อาเจียนรุนแรงหรือต่อเนื่อง ก็ควรตรวจหาสาเหตุดังกล่าว
4. หญิงตั้งครรภ์มีโอกาสเป็นโรคติดเชื้อของทาง เดินปัสสาวะได้ง่าย และบางครั้งอาจไม่มีอาการแสดงจึงควรตรวจปัสสาวะเป็นครั้งคราวขณะฝากครรภ์ หากพบจะได้ให้การรักษาเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดกรวยไตอักเสบเฉียบพลัน
5. ถ้าสัมผัสใกล้ผู้ป่วยหัดเยอรมันหรืออีสุกอีใสควรรีบแจ้งให้แพทย์ทราบ เพื่อตรวจดูว่ามีการติดเชื้อ ไวรัสเหล่านี้หรือไม่เพราะการติดเชื้อไวรัสเหล่านี้อาจทำให้ทารกพิการได้
6. ขณะตั้งครรภ์โรคบางชนิด เช่น ไมเกรน เยื่อบุมดลูกต่างที่ มักจะทุเลาหรือปลอดจากอาการได้ในไตรมาสที่ 2 และ 3 แต่หลังคลอดก็จะกำเริบได้ใหม่
7. ในปัจจุบันแพทย์สามารถทำการตรวจวินิจฉัย ทารกก่อนคลอด (prenatal diagnosis) ซึ่งมีอยู่หลายวิธี เช่น
- การตรวจกรองความผิดปกติของโครโมโซมและระบบประสาทของทารก เช่น กลุ่มอาการดาวน์ (Down’ syndrome) ภาวะไม่มีสมอง(anencephaly) ความผิดปกติของไขสันหลัง (spina bifida) โดยการ เจาะเลือดมารดาตรวจระดับ alpha-fetoprotein(AFP) beta-HCG และ unconjugated estriol เทียบกับค่ามาตรฐาน
- มารดาที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป (ซึ่งเสี่ยงต่อมีบุตรเป็นกลุ่มอาการดาวน์) มารดาเคยคลอดบุตรที่มีโครโมโซมผิดปกติ มารดามีประวัติการแท้งเป็นอาจิณ บิดาและมารดาเป็นโรคหรือมียีนแฝงของทาลัสซีเมีย (ซึ่งบุตรมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคทาลัสซีเมีย) ตรวจกรองเลือดมารดาแล้วพบความผิดปกติของโครโมโซม หรือตรวจอัลตราซาวนด์ แล้วพบความพิการ สูติแพทย์ จะทำการเจาะน้ำคร่ำ (amniocentesics) หรือเก็บตัวอย่างเนื้อรก (chorionic villus sampling) เพื่อตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซม
8. การป้องกันความผิดปกติของทารก บางกรณี ควรกระทำตั้งแต่ก่อนจะตั้งครรภ์ เช่น
- ในรายที่ยังไม่เคยเป็นหัดเยอรมันและอีสุกอีใส (ตรวจเลือดไม่พบสารภูมิต้านทานต่อโรคเหล่านี้) ควรฉีดวัคซีนป้องกัน
- ป้องกันไม่ให้เกิดความผิดปกติของระบบประสาท (neural tube defect) เช่น spida bifida โดยการินกรดโฟลิก (folic acid) 4 มก.วันละครั้ง ตั้งแต่ 3 เดือนก่อนตั้งครรภ์จนกระทั้งพ้นระยะตั้งครรภ์ไตรมาสแรก
การรักษา
ถ้าสงสัยตั้งครรภ์หรือแพ้ท้อง ควรทำการทดสอบ การตั้งครรภ์ด้วยการใช้ชุดตรวจปัสสาวะสำเร็จรูป หากตรวจ 2 ครั้งแล้วให้ผลลบ อาจต้องส่งตรวจหาระดับ ฮอร์โมนเอชซีจีในเลือด ซึ่งให้ผลแน่นอนกว่าและสามารถตรวจพบตั้งแต่ระยะแรก ของการตั้งครรภ์
หากพบว่ามีการตั้งครรภ์ ควรแนะนำให้ผู้ป่วยไป ตรวจที่คลินิกฝากครรภ์ของโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล ซึ่งมีแนวทางการดูแลครรภ์ ดังนี้
1.ตรวจเช็กสุขภาพทั่วไปของมารดาและทารกในครรภ์ ประเมินอายุครรภ์* และความเสี่ยง โดยการชัก ประวัติตรวจร่างกายอย่างละเอียด และทำการตรวจทาง ห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจระดับความเข้มข้นของเลือด รวมทั้งขนาด และลักษณะของเม็ดเลือดแดงกลุ่มเลือด (ABOและ Rh) ตรวจกรองโรคเบาหวาน โรคติดเชื้อ (เช่น ซิฟิลิส ไวรัสตับอักเสบบีเอดส์ หัดเยอรมัน เป็นต้น) ทาลัสซีเมีย บางรายแพทย์อาจทำการตรวจอัลตราซาวด์ เพื่อดูลักษณะและความผิดปกติของทารกในครรภ์
2.ให้การดูแลภาวะสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ให้ยาบำรุงโลหิต ในรายที่มีภาวะโลหิตจางให้ยาควบคุมความดันโลหิตสูง เบาหวาน เอดส์ เป็นต้น ถ้าพบว่ามีภาวะรุนแรง เช่น แท้งบุตร มีการเกาะต่ำรกลอกตัวก่อนกำหนดครรภ์เป็นพิษครรภ์ไข่ปลาอุก เป็นต้นก็ให้การดูแลรักษาให้ปลอดภัย บางกรณีอาจจำเป็นต้องรับตัวผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล
3.ในรายที่มีอาการแพ้ท้อง แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัว ดังนี้
- ดื่มนมหรือเครื่องดื่มร้อนๆ หลังตื่นนอน
- กินอาหารอ่อน ๆ ที่ย่อยง่าย ควรกินอาหารที่ยังอุ่น ๆ แบ่งเป็นมื้อย่อย ๆ วันละ 5-6 มื้อ หลีกเลี่ยงอาหารมันหรือรสจัด
- เมื่อรู้สึกคลื่นไส้ จิบน้ำอุ่น หรือดื่มน้ำขิงอุ่น ๆ
- ถ้าแพ้ท้องมาก กินอะไรออกหมด ให้อมลูกอมบ่อย ๆ จิบน้ำหวานหรือน้ำผลไม้ทีละน้อยบ่อย ๆ เพื่อให้พลังงานและป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
- หลังอาเจียน ควรดื่มน้ำอุ่น ๆ และกลั้วคอล้างกลิ่นที่อาจทำให้รู้สึกคลื่นไส้พะอืดพะอม
โดยทั่วไปผู้ป่วยมักจะมีอาการอยู่นาน14-16 สัปดาห์ แล้วทุเลาไปได้เอง
ในรายที่มีอาการอาเจียนมากจนกินอาหารไม่ได้ แพทย์อาจพิจารณาให้ยาแก้อาเจียน เช่น ไดเฟนไฮดรามีน ไดเมนไฮดริเนต หรือดอมเพอริโดน ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2-3 ครั่ง ก่อนอาหาร ครึ่งชั่วโมง
ในรายที่มีอาการอาเจียนรุนแรงและต่อเนื่อง มีภาวะขาดน้ำ ภาวะเลือดเป็นกรด (มีอาการหายใจหอบลึก) ขาดสารอาหาร ตาพร่ามัวซึ่งเกิดขึ้นฉับพลัน หรือดีซ่านหรือสงสัยเป็นอาหารแพ้ท้องอย่างแรง แพทย์จะรับตัว ผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาลมักจะต้องให้น้ำเกลือทาง หลอดเลือดดำ และให้อาหารทางสายยางหรือหลอดเลือด ในรายที่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอาจต้องทำการยุติการ ตั้งครรภ์เพื่อป้องกันมิให้มารดาได้รับอันตราย
4.ให้ยาบำรุงโลหิต เช่น เฟอร์รัสฟูมาเรต 200 มก./วัน เพื่อป้องกันภาวะโลหิตจาง
ในรายที่กินอาหารได้น้อย ควรให้วิตามินและ แร่ธาตุอื่น ๆ เสริม
5. ฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก
6.ข้อควรปฏิบัติสำหรับหญิงตั้งครรภ์
- ควรกินอาหารพวกโปรตีน (เช่น เนื้อสัตว์นม ไข่ ถั่วเหลือง เต้าหู้) อาหารที่มีธาตุเหล็ก (เช่น ตับ เครื่องในสัตว์ นม ไข่) แคลเซียม (เช่น นม เต้าหู้ก้อน แข็ง ยาเม็ดแคลเซียม) ผักและผลไม้ให้มาก ๆ
- ควรงดแอลกอฮอล์ (อาจทำให้ทารกพิการ หรือปัญญาอ่อน) และบุหรี่(อาจทำให้ทารกตัวเล็กคลอดก่อนกำหนด หรือแท้ง)
- อย่าซื้อยาใช้เอง เพราะอาจได้รับยาที่เป็น อันตรายต่อทารกในครรภ์ได้
- ทำงานและกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ สามารถออกกำลังกายได้ แต่ไมควรหักโหมจนเกินไป
- พักผ่อนนอนหลับให้มากขึ้น เมื่อครรภ์ใหญ่ ขึ้นควรนอนตะแคง หลีกเลี่ยงการนอนหงายเพราะมดลูกอาจกดหลอดเลือดใหญ่และท่อเลือดดำได้
- ไม่ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่นเกินไปในรายที่เต้านมใหญ่ควรเปลี่ยนเสื้อชั้นในที่สามารถประคองเต้านม
- หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าเส้นสูง เพราะอาจทำให้ปวดหลังได้ง่าย
- สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้จนกระทั่งประมาณ 4 สัปดาห์ก่อนวันกำหนดคลอด โดยหลีกเลี่ยงท่าที่ฝ่ายชายทาบทับที่ท้องโดยตรง ถ้ามีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดหรือเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดควรงดการมีเพศสัมพันธ์
- ควรฝากครรภ์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอจนกระทั่งคลอด โดยทั่วไปก่อนอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ จะนัดตรวจทุก 4 สัปดาห์ อายุครรภ์ 28-38 สัปดาห์จะนัดตรวจทุก 2 สัปดาห์ และอายุครรภ์ 38 สัปดาห์ขึ้นไปจะนัดตรวจทุก 1 สัปดาห์
- ถ้าหากมีอาการผิดปกติ ควรรีบกลับไปแจ้งให้แพทย์ทราบ
- ในระยะใกล้คลอด ควรหลีกเลี่ยงการใช้แอสไพริน และยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ เพราะอาจทำให้มดลูกไม่บีบตัว ไม่มีแรงเบ่งคลอด คลอดยากได้
Ambulance call
1669
Available 24 Hours
Are you five-star healthcare provider?
list your practice
to reach million of patient