การรักษา
หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล แพทย์จะวินิจฉัยโดยการใช้นิ้วตรวจทางทวารหนัก พบต่อมลูกหมากเป็นก้อนแข็งหรือขรุขระ ตรวจพบระดับพีเอสเอ (prostate specific antigen/PSA)ในเลือดสูง และทำการตรวจอัลตราซาวนด์ต่อมลูกหมากผ่านทางทวารหนัก (transrectal ultrasound/TRUS) และตัดชิ้นเนื้อพิสูจน์
การรักษา แพทย์จะเลือกวิธีรักษาตามความ รุนแรงระยะของโรค และอายุของผู้ป่วย เช่น
ผู้ป่วยที่มะเร็งยังจำกัดอยู่เฉพาะที่ต่อมลูกหมาก และมีอายุต่ำกว่า 65 ปี หรือคาดว่าสามารถอยู่ได้นาน เกิน10 ปี มักจะทำการผ่าตัดต่อมลูกหมาก
- ผู้ป่วยที่มะเร็งยังจำกัดอยู่เฉพาะที่ต่อมลูกหมาก แต่มีอายุมากหรือสุขภาพทรุดโทรม หรือปฏิเสธการ ผ่าตัด หรือผู้ป่วยที่มะเร็งเริ่มแพร่กระจายออกไปบริเวณรอบๆ ต่อมลูกหมาก มักให้รังสีบำบัด
- ผู้ป่วยที่มะเร็งแพร่กระจายไปทั่วแล้วหรือค่าพีเอสเอเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หรือผู้ป่วยอายุน้อยที่เป็นมะ เร็งชนิดร้ายแรง มักจะให้ฮอร์โมนบำบัด เพื่อควบคุมเทสโทสเทอโรนให้ลดลงทำให้ก้อนมะเร็งฝ่อเล็กลงโดยการให้ยาต้านแอนโดรเจนชนิดเม็ด (anti-androgen เช่น flutamide, bicalutamide เป็นต้น) ฉีดยากระตุ้น luteinizing hormone-releasing hormone (LHRH agonists เช่น leuprorelin,goserelin) หรือโดยการผ่าตัดอัณฑะ (ที่สร้างเทสโทสเทอโรน) ออกไปทั้ง 2 ข้าง
- ผู้ป่วยที่มะเร็งมีขนาดเล็ก เจริญช้า จำกัดอยู่เฉพาะที่ต่อมลูกหมาก หรือไม่มีอาการแสดง (พบจากการตรวจคัดกรอง)โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีอายุมากสุขภาพทรุดโทรม หรือคาดว่าอยู่นานไม่ถึง 10 ปี มักจะไม่ให้การรักษาใด ๆ แต่จะเฝ้าติดตามดูการเปลี่ยนแปลงโดยการตรวจระดับพีเอสเอและการใช้นิ้วตรวจทางทวารหนักเป็นระยะ ๆ ถ้าจำเป็นอาจทำการตรวจชิ้นเนื้อ ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีชีวิตที่เป็นปกติสุขอยู่ได้เป็นเวลานาน เนื่องจากมะเร็งมีการลุกลามช้า ไม่คุ้มกับความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา เช่น กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น
หลังการรักษาไม่ว่าด้วยวิธีใด แพทย์จะติดตามตรวจระดับพีเอสเอเป็นระยะ ถ้าอยู่ในเกณฑ์ปกติแสดงว่าโรคสงบหรือทุเลา แต่ถ้ามีค่าสูงขึ้นก็แสดงว่าโรคอาจกำเริบขึ้นอีก โดยทั่วไปผลการรักษาค่อนข้องดีและสามารถมีชีวิตอยู่ได้นาน เนื่องจากมะเร็งต่อมลูกหมากส่วนใหญ่เป็นมะเร็งที่มีการเจริญหรือลุกลามช้า
การป้องกัน
ถึงแม้มะเร็งชนิดนี้ป้องกันได้ยาก แต่การปฏิบัติตัว ต่อไปนี้ อาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรค และชะลอการลุกลามของโรค
- ลดอาหารมัน
- กินผักและผลไม้ ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จาก ถั่วเหลืองให้มาก ๆ
- กินมะเขือเทศ (ที่ปรุงสุก) แตงโมฝรั่งไส้ชมพู และมะละกอสุกให้มาก ๆ ซึ่มีสารไลโลโคพีน (lycopene) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
Ambulance call
1669
Available 24 Hours
Are you five-star healthcare provider?
list your practice
to reach million of patient